วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

http:wownamsiri040.blogspot.com

                                   บทที่  3  การประมวลผลข้อมูล

ตอนที่  1  อธิบาย  (หมายถึง  การให้รายละเอียดเพิ่มเติม  ขยายความ  ถ้ามีตัวอย่างให้ยกตัวอย่างประกอบ)  ตอบแบบสั้น


1.  ข้อมูลปฐมภูมิและข้อทุติยภูมิต่างกันอย่างไร
ตอบ.  ข้อมูลปฐมภูมิ  คือ  ข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งกำเนิดข้อมูลโดยตรง  เป้นการค้นหาขัอมูลโดยตนเอง  จากการสัมภาษณ์  สอบถาม    สอบถาม  เช่นการสำรวจประชากร
          ส่วนข้อมูลทุติยภูมิ  คือ  ข้อมูลที่มีผู้เก้บรวมรวมไว้แล้วสามารถนำมาใช้งานได้ทันที

2.  อธิบายความหมายของ   "เขตข้อมูล"   ( Field  )
ตอบ.  ประกอบด้วย  ชุดของอักขระที่สัมพันธ์กัน  เช่น  ในการจัดทำป้ายจ่าหน้าซองจดหมายถึงสมาชิกของศูนย์  ข้อมูลแต่ละบุคคล  อาจจะประกอบด้วยเขตข้อมูลหมายเลขสมาชิก เขตข้อมูลที่อยู่  เขตจังหวัด  เป็นต้น

3.  วิธีจัดการแฟ้มข้อมูลแบบใดเข้าถึงข้อมูลได้เร็วที่สุด  เพราะเหตุใดและมีประโยชน์อย่างไร  ยกตัวอย่าง
ตอบ.  แบบเรียงลำดับ  เพราะเป้นการจัดเก็บข้อมูลแบบเรียงลำดับทุก  ๆ  ระเบียบ  เพื่อให้หน่วยงานที่มีข้อมูลจำนวนมากและเป้นครั้งเป็นคราว  เพื่อให้การประมวลผผลเข้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เช่น  การปรับปรุงเงินเดือนพนักงาน  โดยใช้หมายเลขประกันสังคมเป็นคีย์หลัก


ตอนที่  3  อธิบายศัพท์
1.  System  Analyst
     มีหน้าที่วิเคราะห์  ออกแบบ และนำสารสนเทศบนคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานมาใช้งาน


2.  MIS
     บุคคลากร  เกี่ยวกับตำแหน่ง  บทบาท  และความรับผิดชอบที่สำคัญของบุคลากร


3.  DSS
         ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  เป็นความก้าวหน้าของระบบการรายงานสารสนเทศ


4.  EIS
        ระบบสารุสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง  เป็นระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ถูกนำมาใช้เพื่อให้ได้สารสาเทศสำหรับการวางแผน


5.ES
      ระบบผู้เชี่ยวชาญ  เป็นส่วนหรึ่งในการค้นคว้าระบบ   "ปัญญาประดิษฐ์"


6.Knowledge  Base
          ฐานความรู็  เป็นศูนย์กลางของระบบผู้เชี่ยวชาญ


7.User  INterface
         ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้  คือ  เครืองหมายหรือสัญลักษณ์บนจอภาพ


8.Inference  Engine  
            เครื่องอนุมาน  คือ  ระบบของโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างระบบผู้เชี่ยวชาญ


9.  Data  Structured
           โครสร้างข้อมูล  การประมวลผลข้อมูลในคอมพิวเตอร์


10.  Semi  Structured  
             ข้อมูลความรู้จะเป็นลักษณะแบบกึ่งโครงสร้าง






                                               บทที่  4    การวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
ตอนที่  1  อธิบาย  (หมายถึง  การให้รายละเอียดเพิ่มเติม  ขยายความ  ถ้ามีตัวอย่างให้ยกตัวอย่างประกอบ)  ตอบแบบสั้น

1.  อธิบายความหมายของ  "การวิเคราะห์ระบบ"
ตอบ.  คือ  กระบวนการเกี่ยวกับการศึกษาระบบที่มีอยู่แล้ว  เพื่อกำหนดวิธีการทำงานและวิธีการทำงานและวิธีที่ผู้ใช้ต้องการ  การวิเคราะห์ระบบเป็นการวางแผลงาน  การทำงานเพื่อปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น  การสำรวจ  การสร้งความสัมพันธ์


2.วงจรการพัฒนาระบบมีกี่ขั้นตอน  อะไรบ้าง
ตอบ.  มี  5  ขั้นตอน  ดังนี้
          1.  ขั้นเตรียมการ สำรวจ  กำหนดปัญหา
          2.  การวิเคราหะห์  ทำความเข้าใจกับระบบเดิม
          3.  การออกแบบ  การวางแผนออกแบบระบบใหม่
          4.  การพัมนา  การทำงานเพื่อให้ได้ระบบงานใหม่ตามที่ออกแบบไว้
          5.  การนำไปใช้  การเปลี่ยนแปลงให้ใ้ช้ระบบใหม่


3.แผนภาพกระแสข้อมูลมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ.  มีประโยชน์สำหรับการอธิบายกระบวนการทำงานและไหลเวียนข้อมูล  ช่วยในการสื่อสารระหว่างนักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้ระบบ


ตอนที่  3    อธิบายสัญลักษณ์ในการเขียนผังงานต่อไปนี้
1.    การประมวลผลข้อมูล  การกำหนดค่า  การโยกย้ายข้อมูล
2.  หน่วยรับหรือแสดงข้อมูล  โดยไม่ระบุอุปกรณ์
3.  แสดงจุดเริ่มต้นหรือสิ้นสุดของโปรแกรม
4.  แสดงผลจอทางจอภาพ
5.  แสดงผลทางเครื่องพิมพ์
6.  กำหนดเงื่อนไข  ทางเลือก  การเปรียบเทียบ
7.  โปรแกรมย่อย  หรือโมดูล
8.  การเตรียมทำงานลำดับต่อไป
9.  จุดเชื่อมต่อผังงานในหน้าเดียวกัน
10.  จุดเชื่อมต่อผังงานที่อยู่หน้าต่างกัน




วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

http://wownamsiri040.blogspot.com

  1.    วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์
    จอภาพเป็นอุปกรณ์ต่อเชื่อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่แสดงผลลัพธ์ ชั่วคราว เพื่อเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ สามารถสื่อสารเข้าใจตรงกันได้ ซึ่งจะมีอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อีกตัวหนึ่งทำงานควบคู่กับจอภาพ นั่นคือ การ์ดสำหรับแสดงผลจอภาพ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
    ซึ่งจอภาพมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงในด้านเทคโนโลยีที่แตกต่างกันออกไป เทคโนโลยีบางอย่างกำลังจะเข้ามาแทนที่ ในขณะที่เทคโนโลยีบางอย่างกำลังจะถูกกลืนแล้วก็หายไป (Technology Life Cycle) มีอะไรบ้างในช่วงของ Life Cycle จอภาพที่มีการเปลี่ยนแปลง

    CRT (Cathode Ray Tubes)
    เทคโนโลยีของจอแสดงผล (Display Technology) อดีตในปี ค.ศ. 1897 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน Kari Ferdinand Braun เป็นผู้ประดิษฐ์หลอดรังสีคาโธด หรือ CRT และในปี ค.ศ. 1908 Campbell Swinton ได้เสนอให้ใช้หลอด CRT สำหรับการแสดงผลภาพ ต่อมาในปี ค.ศ. 1936 ได้มีการเริ่มนำ CRT มาทำจอภาพโทรทัศน์เป็นครั้งแรก โดยใช้การสแกนแนวนอน 343 เส้น และสามารถผลิตภาพได้ 30 ภาพต่อวินาที ซึ่งเพียงพอในการหลอกสายตามนุษย์ให้เป็นเป็นภาพต่อเนื่องได้โดยไม่กระตุก โดยหลักการของ CRT ซึ่งเป็นหลอดสูญญากาศนั้นทำงานโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนผ่านสนามแม่เหล็ก ซึ่งใช้ควบคุมทิศทางของลำแสงอิเล็กตรอนให้สามารถไปทางซ้าย-ขวา ขึ้นบน-ลงล่าง โดยการควบคุมผ่านวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเมื่อยิงอิเล็กตรอนออกไปกระทบกับสารที่เคลือบด้านในของจอภาพ ซึ่งมีสารฟอสเฟสฉาบอยู่บนหลอดภาพ และเมื่อสารฟอสเฟสโดนแสงก็จะถูกกระตุ้นให้เปล่งแสงออกมา จุดไหนที่โดนแสงจะถูกกระตุ้นให้เปล่งแสงออกเป็นจุดๆ ซึ่งจุดนี้ก็คือจุดที่แสดงภาพขึ้นมาบนหน้าจอ จุดนี้มีชื่อเรียกว่า พิกเซล (Pixel)
    54184

    จอภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มีหลักการแบบเดียวกับจอโทรทัศน์ เทคโนโลยีของ CRT เป็นที่นิยมในเทคโนโลยีแสดงผลที่มีอายุเกินร้อยกว่าปี และมาตรฐานการแสดงผลที่ใช้กับคอมพิวเตอร์มาจากการพัฒนาของบริษัทไอบีเอ็ม ระบบแสดงผลที่ใช้กับจอภาพมีสีเดียวที่เรียกว่า “โมโนโครม” หรือ MDA (Monochrome Display Adapter) ซึ่งจะแสดงผลที่เป็นตัวอักษรเพียงอย่างเดียวแต่ให้ความละเอียดสูง แต่คาดกันว่าในอนาคตผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะเลิกใช้จอภาพแบบ CRT ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ ประหยัดพื้นที่ และที่สำคัญคือสุขภาพสายตา เทคโนโลยีหลอดภาพที่นำมาใช้เป็นมอนิเตอร์สำหรับคอมพิวเตอร์มีการพัฒนา ตั้งแต่ CGA, EGA, VGA, XGA และในปัจจุบันกลายเป็น UXGA
    CD (Liquid Crystal Display)
    ถูกคิดค้นในปี ค.ศ. 1963 จอ LCD เริ่มจากการพัฒนานำมาใช้กับนาฬิกาและเครื่องคิดเลข เป็นจอภาพที่เริ่มเข้าสู่ยุคดิจิตอล จอภาพที่มีความแบนทำให้สามารถแสดงตัวอักษรและภาพได้โดยไม่เกิดการกระพริบ (flicker) การทำงานของจอภาพ LCD นั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวดมาทำการเปลี่ยนและบังคับให้ ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการ ทำให้แสงสว่างที่ได้จะไม่สั่นไหวเหมือนจอภาพแบบที่ใช้หลอดภาพ ซึ่งประโยชน์ก็คือสามารถลดความเมื่อยล้าในการมองได้ ซึ่งเดิมทีจอ LCD นิยมใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบแล็ปท๊อปหรือโน้ตบุ๊ค แต่ในปัจจุบันเริ่มมีปริมาณผู้ใช้จอภาพ LCD กับเครื่องเดสก์ทอปกันมากขึ้น และรวมไปถึง PDA และอาจกล่าวได้ว่าจอภาพ LCD กำลังก้าวมามีบทบาทแทนที่จอภาพแบบ CRT ซึ่งข้อดีของจอ LCD คือมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และกินไฟไม่มาก ให้ความละเอียดได้มากกว่าจอ CTR แต่ข้อเสียคือมีราคาแพงกว่าจอ CTR ส่วนในแง่ของการแสดงผล จอภาพ LCD ขนาด 15 นิ้ว สามารถให้พื้นที่การมองได้เกือบจะเท่ากับจอภพา CRT ขนาด 17 นิ้ว
    54185 54186

    จอภาพ LCD แบ่งเป็นสองเภท คือ
    • Dual-Scan Twisted Nematic (DSTN) เป็นจอภาพแบบ Passive Matrix จอภาพที่มีสีค่อนข้างแห้ง เนื่องจากมีความสว่างน้อย และสีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้ นอกจากมองจากมุมตรง และมีการตอบสนองที่ช้ามาก ดั้งนั้นจึงมีปัญหาเวลาที่เราดูภาพยนตร์หรือเคลื่อนเมาส์เร็วๆ ทำให้เรามองภาพเป็นภาพเบลอๆ ไป ตามการเปลี่ยนภาพไม่ทัน
    • Thin Flim Transistor (TFT) เป็นจอ LCD ที่ถูกพัฒนาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของจอ LCD แบบ DSTN โดยจอแบบ TFT นีเป็นแบบ Active Matrix ซึ่งได้ทำการเพิ่มเอาทรานซิสเตอร์เข้าไปเชื่อมต่อเข้ากับจอ LCD โดยทรานซิสเตอร์แต่ละตัวจะแทนแม่สี ผลที่ได้ก็ทำให้มีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของภาพที่เร็วขึ้น มีความคมชัดมากขึ้น จอภาพมีสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม เนื่องจากให้ความสว่างและสีสันในอัตราที่สูง และจอภาพ TFT สามารถทำให้บางกว่าจอภาพแบบ LCD ปกติได้ จึงทำให้มีน้ำหนักเบากว่า
    54187 54188
           OLED (Organic Light Emitting Diodes)
    เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังจะเข้ามาเพื่อทดแทนเทคโนโลยี LCD ค้นพบโดยบังเอิญของนักวิจัยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ โดยพบว่าสารกึ่งตัวนำบางชนิดสามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นแสงได้ ซึ่งเรียกว่า “อิเล็กโทรลูมิเนสเซนซ์” (Electroluminescence) ซึ่งเป็นสารโพลิเมอร์ที่ให้สีต่างๆ เมื่อนำมาประกอบกันและให้พลังงานในจุดที่ต้องการก็จะเปล่งแสงประกอบกันเป็น ภาพและสีตามต้องการเหมือนจอภาพ LED (Light Emitting Diodeds) OLED เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานโดยอาศัยคุณสมบัติทางนาโน คือ วัสดุอินทรีย์เปล่งแสง เพราะเป็นสารอินทรีย์นี้เราจึงสามารถประกอบอุปกรณ์ OLED บนวัสดุที่พับงอได้ จึงเกิดเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า จอภาพแบบยืดหยุ่น (Flexible Display) ซึ่งมีข้อดีคือกินพลังงานน้อยกว่า จอภาพบาง แบน เบา ให้สีคมชัด และยืดหยุ่นได้ จากข้อดีดังกล่าวทำให้นักวิจัยเร่งวิจัยและพัฒนาคือ จอภาพที่ไม่กินพื้นที่ สามารถบิดงอได้โดยไม่ทำให้จอเสียหรือภาพล้ม ซึ่งเทคโนโลยีแบบเดิมไม่สามารถสนองความต้องการนี้ได้
    ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี OLED มาใช้กับจอภาพคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คทำให้มีภาพเคลื่อนไหวที่ชัดเจน การแสดงผลของจอภาพ OLED แสดงผลได้เร็วกว่าจอภาพ LCD จากคุณสมบัตินี้ทำให้จอภาพ OLED จะถูกนำไปใช้กับโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่เรียกว่า 3G คือเป็นโทรศัพท์ในยุคที่สาม เพราะโทรศัพท์ประเภทนี้จำเป็นต้องแสดงภาพวิดีโอของคู่สนทนาด้วย เพราะไม่เพียงแต่จะออกแบบให้สื่อสารกับหูเท่านั้น ยังสนองความต้องการทางตาได้ด้วย ทำให้จอภาพ OLED เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
    54191

    Plasma
    จอภาพ Plasma คือ วิวัฒนาการแห่งเทคโนโลยี visual image สำหรับแสดงข้อมูลดิจิตอล ด้วยเทคโนโลยี ALIS จอภาพ Plasma ใช้หลอดขนาดเล็กบรรจุก๊าซซีนอน เลียนแบบหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ เมื่อมีการปล่อยกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหลอดใด ก๊าซก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นพลาสมา แล้วปล่อยพลังงานออกมาในรูปของรังสีอุลตร้าไวโอเลต ซึ่งจะไปกระตุ้นสารฟอสเฟอร์ไวแสงสีต่างๆ สามสีบนผิวจอให้สว่างขึ้นมา สามารถตอบสนองต่อสัญญาณภาพได้รวดเร็ว ทำให้ภาพคมชัด มีความละเอียด และความสว่างสูง มีสีสันที่ใกล้เคียงกับสีตามธรรมชาติเป็นอย่างมาก และมีมุมมองที่คมชัดมากกว่าจอภาพแบบ LCD สามารถมองภาพได้ชัดเจนในมุมกว้างเกือบ 180 องศา เนื่องจากเทคโนโลยีของจอภาพแบบ Plasma มีความแตกต่างจากจอภาพแบบ LCD ทำให้ราคาแพงกว่าจอภาพแบบ LCD ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาที่จะเป็นที่ยอมรับในการเลือกซื้อมาใช้งานในปัจจุบัน
    5419254193
           Touch Screen
    เป็นอีกหนึ่งจอภาพที่อยากพูดถึง เป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นที่ทำให้ผู้ใช้สามารถสัมผัสจอแล้วได้รับการตอบสนอง จากคอมพิวเตอร์ เปรียบเสมือนมีเม้าส์และคีย์บอร์ดที่จอภาพ ซึ่งจะต้องประกอบด้วยส่วนสำคัญหลักๆ 2 ส่วน คือ
    1. แผ่นหน้าจอสัมผัส ที่มีขนาดและความโค้งพอดีกับหน้าจอ ตัวควบคุม Touch Screen มีทั้งอยู่บริเวณหลังหน้าจอ หรือแบบอยู่ในตัวเครื่อง แล้วส่งข้อมูลจาการสัมพผัสเข้ามาในตัวคอมพิวเตอร์
    2. Software จะเป็นตัวประมวลผลข้อมูลที่ได้จากหน้าจอสัมผัส ส่วน driver จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นข้อมูลสำหรับเม้าส์ และนำส่งข้อมูลที่เปลี่ยนแล้วไปเป็นโค้ดสำหรับบังคับเม้าส์ ซึ่งเป็นหน่วยที่บรรจุอยู่ใน host server software ตัวบังคับเม้าส์นี้จะทำงานอยู่ใน host เราจะไม่สามารถทราบว่า ข้อมูลที่ได้รับเป็นโค้ดสำหรับเม้าส์นี้มาจากตัวเม้าส์เอง หรือมาจากหน้าจอที่ควบคุมโดยการสัมผัส ซึ่งทั้งสองวิธีเราสามารถใช้ได้พร้อมๆ กัน
    ประโยชน์ของ Touch Screen นั้นทำให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างคล่อง แคล่วขึ้น สามารถเข้าสู่การทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่ายและรวดเร็วเพียงปลายนิ้วสัมผัส อีกทั้งหน้าจอของ Touch Screen เป็นระบบ Analog Resistive ทำให้สามารถอยู่ในพื้นที่ที่มีฝุ่นก็สามารทำงานได้ปกติ และยังสามารถโดนน้ำก็ยังทำงานได้
    54194 54195


    มาดูข้อดีข้อเสียของจอภาพแต่ละชนิดกัน เลือกให้ตรงกับความต้องการ เพื่อจะได้ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    54197

http://wownamsiri040.blogspot.com




                                                             บทที่  2    
                                            องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์  


ตอนที่1  จงตอบคำถามต่อไปนี้

1.  ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญกี่ส่วน  อะไรบ้าง
ตอบ  3  ส่วน  
            1.  ฮาร์ดแวร์
             2.  ซอฟต์แวร์
             3.  บุคลากร

2.  หน่วยรับโปรแกรมและข้อมูลแบ่งออกเป็น  3  ประเภท  อะไรบ้าง
ตอบ  1.  อุปกรณ์แบบธรรมดา
          2.  อุปกรณ์แบบพิเศษ
          3.  อุปกรณ์รับข้อมูลโดยตรง

3.  หน่วความจำขนาด  4    GB   มีความจุกี่ไบต์
ตอบ  4,  294,  967,  256  bytes.


4.RAM  คืออะไร
ตอบ  หน่วยความจำชั่วคราวเป็นหน่วยจัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลระหว่างทำการประมวลผล  ในขณะที่เครื่องทำงานอยู่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอด


5.ROM  ต่างจาก  RAM  อย่างไร  มีกี่ชนิด  ชนิดใดนำไปใช้กับระบบ  POS
ตอบ  ROM    หนาวยความจำชนิดอ่านได้อย่างเดียวเท่านั้น  มี  3  ชนิด  คือ
1.  PROM     2.  EPROM   3.EEPROM
 ใช้สำหรับการบันทึกรายการและหน่วยความจำ  เป็นหน่วยความจำคำสั่ง
          RAM   หน่วยความจำชั่วคราวเป็นหน่วยจัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลในระหว่างทำการประมวล
 มี  2  ชนิดคือ   1.  DRAM   2.  SRAM



ตอนที่  3  จงตอบคำถามต่อไปนี้พอสังเขป
1.  ซอฟต์แวร์คืออะไร  แบ่งออกเป็นกี่ประเภท  อะไรบ้าง  จงอธิบาย
ตอบ.  คือ  โปรแกรมหรือชุดคำสั่งในการควบคุมหรือสั่งให้ซอฟต์แวร์ปฎิบัติงานด้ายตามวัตถุประสงค์  การนำข้อมูล  การประมวลผล  การจัดเก็็บข้อมูล และการควบคุมการปฎิบัติการในรูปแบบของคำสั่ง
ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น  2  ประเภท  คือ
             1.  ซอฟต์แวร์ระบบ  หมายถึง  โปรแกรมจัดการและสนับสนุนทรัพยากรและการปฎิบัติงานของคอมพิวเตอร์
            2.   ซอฟต์แวร์ประยุกต์  หมายถึง  โปรแกรมสำหรับใช้งานเฉพาะอย่างตามความถูกต้องของผู้ใช้


2.  โปรแกรมประเภทฟรีแวร์  (Freeware)  แชร์แวร์( Shareware   )  เฟิร์มแวร์(Firmware   )  เป็นอย่างไร  
ตอบ.  โปรแกรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานได้หลายงาน โดยไม่ต้องเรียนโปรแกรมขึ้นมาใหม่  เพียงเรียนรู้การใช้งานเท่านั้นจะช่วยให้การทำงานได้หลายงาน






วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

http://wownamsiri040.blogspot.com

ซีพียู (CPU) Intel
CPU ทำหน้าที่อะไร
CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้
สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็น Clock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที
การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น
 ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอินเทล เช่น Pentium I, Pentium II, Pentium III ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป
คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
• หน่วยความจำภายนอก
• สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) (แอนนา 2540: 9)
• บัส
• หน่วยความจำแคช
• Passing Math Operation

รวมประวัติCPUในอดีตAMD
K5
หลังจากที่ทาง Intel นั้นได้เปลี่ยนรูปแบบของชื่อ มาใช้แบบที่ไม่เป็นตัวเลข ทาง AMD ก็เอาบ้างสิ โดยเจ้า K5 นี้ ทาง AMD ก็กะจะเอามาชนกันตรงๆ กับ Intel Pentium เลยทีเดียว ซึ่งจะใช้งานบน Socket 5 เหมือนๆ กับ Pentium ด้วย และเพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสนในเรื่องรุ่นของความเร็ว ก็เลยมีการนำเอา PR-Rating มาใช้
ในการเปรียบเทียบ ระดับความเร็ว เมื่อเทียบกับทาง Intel ซึ่งรุ่นนี้ก็มีตั้งแต่รุ่น 75 ถึง 166 MHz ใช้ความเร็วบัสของระบบที่ 50-66 MHz K5 นี้ ก็จะมีอยู่ด้วยกันถึง 4 Version ครับ แตกต่างกันไปนิดๆ หน่อย โดย Version แรกนั้น จะใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.6 ไมครอน ก็คือ K5-75, 90,100 .. Version ที่ 2 นั้น จะใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน ได้แก่ K5-100 .. ส่วน Version ถัดมานั้นได้มีการปรับปรุง Core ใหม่อีกเล็กน้อย คือรุ่นK5-PR120 และ PR133 ส่วน Version สุดท้าย ก็คือ K5-PR166 ซึ่งใช้ตัวคูณที่แปลก แหวกแนวจากชาวบ้านเขา คือ คูณด้วย 1.75 ใช้งานบน FSB 66 MHz
K6
เป็น CPU ในรุ่นที่ 6 ของทาง AMD ซึ่งชิงเกิดก่อน Pentium II ของทาง Intel เพียงเดือนเดียว คือเริ่มวางจำหนายในเดือนเมษายน ปีค.ศ. 1997 ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน เริ่มต้นด้วยความเร็ว 166 MHz จนถึง 233 MHz ซึ่งรุ่นหลังนี้ ก็ได้ลดขนาดการผลิตเหลือเพียง 0.25 ไมครอนด้วย K6 นี้ ใช้โครงสร้างสถาปัตยกรรมของ Nx686 ของทาง NexGen ซึ่งทาง AMD ซื้อบริษัทนี้เข้าไว้ตั้งแต่ก่อนออก K5 เสียอีก มีขนาดของ Cache ระดับ 1 ที่มากกว่า Intel Pentium MMX เป็นเท่าตัว คือมีถึง 64K ( Instruction Cache 32K และ Data Cache อีก 32K ) นอกจากนี้ยังได้รวมเอาชุดคำสั่ง MMX ของทาง AMD เอง เข้าไว้ด้วย ส่วนสถาปัตยกรรมโครงสร้างภายในนั้น ก็จะเป็นในรูปแบบของ RISC CPU ( Reduced Instruction Set Computer ) ใช้งานบน Socket 7 .. นอกเหนือไปจากนั้น ก็มี CPU ในสายนี้ แต่เป็น CPU สำหรับ Mobile PC นั้นคือ K6 Model 7 ที่มีระดับความเร็ว 266 และ 300 MHz ใช้ FSB 66 MHz ด้วยเทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.25 ไมครอน
K6-2
เป็น CPU ตัวใหม่ที่อยู่ในสายพันธุ์ที่ 6 เช่นเดิม เปิดตัวในราวๆ พฤษภาคม ค.ศ. 1998 ซึ่งโดยสถาปัตยกรรมหลักๆ แล้ว ก็จะยังคงคล้ายๆ กับทาง K6 เดิม เพียงแต่ได้มีการเพิ่มชุดคำสั่งที่ช่วยในการประมวลผล ด้าน Graphic 3 มิติ ที่เรียกว่า 3DNow! เข้าไว้ด้วย โดย CPU รุ่นนี้ ยังคงใช้ Cache ระดับ 2 ที่อยู่บน Mainboard เช่นเคย ทำงานที่ความเร็วเท่าๆ กับ FSB และมีขนาดตั้งแต่ 512K จนถึง 2MB มีความเร็วเริ่มต้นที่ 266 MHz ใช้ FSB 66 MHz ส่วนรุ่นความเร็วถัดมา 300 MHz นั้น จะใช้ FSB เป็น 100 MHz CPU K6-2 นี้ มีอยู่ด้วยกัน 2 Version คือ Version แรก ที่ความเร็ว 266 (66x4), 300 (100x3), 333 (95x3.5), 350 (100x3.5) และ 366 (66x5.5) MHz ซึ่งเป็น Original Version เลย ส่วน Version ถัดมานั้น ทาง AMD ได้ทำการปรับปรุงสถาปัตยกรรมแกนหลักของ CPU ใหม่ โดยเฉพาะตรงส่วนของการจัดการกับ Cache เรียกว่า CXT Core ซึ่งก็ใช้ใน K6-2 รุ่นความเร็วตั้งแต่ 380 MHz เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ถึงระดับความเร็ว 550 MHz แล้ว
Sharptooth (K6-III)
ก็เป็นรุ่นที่มีการพัฒนาต่อจาก K6-2 อีกทีหนึ่ง โดยมาคราวนี้ ทาง AMD ได้จัดการเอา Cache ระดับ 2 รวมเข้าไว้ในตัว CPU เลย ด้วยขนาด 256 K ที่ทำงานด้วยความเร็วเดียวกันกับ CPU และยังคงใช้ได้กับ Interface แบบ Socket 7 เดิม เพราะฉะนั้นจึงมอง Cache ที่อยู่บน Mainboard เป็น Cache ระดับ 3 ( ซึ่ง K6-2 นั้นมองว่าเป็น Cache ระดับ 2 ) ไปโดยปริยาย ... ออกสู่ท้องตลาดเมื่อกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1999 มีออกมาจำหน่ายเพียง 2 รุ่น คือ 400 และ 450 MHz ... และปัจจุบัน ได้ยกเลิกสายการผลิต CPU Sharptooth นี้แล้ว
K6-2+
จะเป็น CPU ที่ใช้งานบน Socket 7 ตัวสุดท้ายของทาง AMD โดยจะเป็น CPU ที่มีคุณลักษณะต่างๆ คล้ายๆ กับเจ้า Sharptooth ที่ยกเลิกสายการผลิตไป เพียงแต่ว่า มีขนาดของ Cache ระดับ 2 เหลือเพียง 128K เท่านั้น และ CPU รุ่นนี้ จะเป็น CPU ที่ใช้ Socket 7 ตัวแรกด้วยที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน เริ่มต้นด้วยความเร็ว 533 MHz คาดว่าจะเปิดตัวในราวๆ ไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2000 นี้ ... สำหรับ CPU รุ่นนี้ บางแหล่งข่าวก็บอกว่าจะมีเฉพาะรุ่นทีใช้กับ Mobile PC เท่านั้น แต่บางแหล่ง ก็บอกว่ามีทั้ง 2 แบบเลย คือรุ่นที่ใช้กับ Mobile PC และรุ่นที่ใช้กับ Desktop PC ...
K6-III+
เป็นรุ่นที่พัฒนามาแทนที่ K6-III เดิม เพราะรายละเอียดแทบทุกอย่างจะเหมือนเดิมทั้งสิ้น เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน ส่วนที่เหลือ ก็คือี Cache ระดับ 2 มีขนาดเป็น 2 เท่าของ K6-2+ คือ 256K และที่สำคัญจะมีเฉพาะรุ่นที่เป็น Mobile PC เท่านั้น สำหรับ K6-2+ และ K6-III+ สำหรับ Mobile PC นั้น จะมีคุณสมบัติใหม่ที่เรียกว่า PowerNow! หรือเดิมชื่อ Gemini ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการประหยัดพลังงาน คล้ายๆ กับเทคโนโลยี SpeedStep ของทาง Intel ด้วยครับ
K7 / Athlon
เป็น CPU ตัวแรกของทาง AMD ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้สถาปัตยกรรมของตัวเองทั้งสิ้น เพื่อแย้งข้อครหาที่ว่าพัฒนา CPU ตามหลัง Intel มาตลอด โดยเจ้า Athlon นี้ เป็น CPU ที่มีขนาดของ Cache ระดับ 1 ที่มากที่สุดในท้องตลาดปัจจุบันนี้ นั่นก็คือ 128 K ( Instruction 64K และ Data 64K ) มี Cache ระดับ 2 อยู่ใน Package เดียวกันกับ CPU ทำงานด้วยความเร็วเป็นครึ่งหนึ่ง และ 2/5 ของความเร็วของ CPU ... มีการนำเอาระบบบัสที่ใช้กับ Processor Alpha มาใช้ กับ Athlon ด้วย คือ EV6 Bus ซึ่งโดยทฤษฎีแล้ว ก็สามารถสร้าง Mainboard ให้รองรับ Processor ทั้ง 2 แบบนี้ได้เลยละครับ คือทั้ง Alpha และ Athlon ใช้งานบนบัสของระบบที่ 100 MHz แต่ด้วยคุณสมบัติของ EV6 Bus ก็จะทำให้ระบบบัสภายในของ CPU นั้นเป็นเท่าตัวของบัสของระบบ คือเป็น 200 MHz และคาดว่าต่อไปน่าจะทำได้สูงถึง 400 MHz หรือมากกว่านี้อีกด้วย
Athlon นี้จะมาพร้อมๆ กับชุดคำสั่ง MMX และ 3DNow! รุ่นพัฒนา ( เรียกว่า Enhance 3DNow! ) ใช้งานบน Interface ใหม่ของทาง AMD เอง เรียกว่า Slot-A มีความเร็วเริ่มต้นที่ 500 MHz
Argon
เป็นชื่อ Codename ของสถาปัตยกรรมแกนหลักของ Athlon
Thunderbird (Athlon)
หรือ เดิมมีชื่อเรียกว่า "Professional Athlon" ก็จะเป็น CPU ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน โดยจะมี Cache ระดับ 2 แบบ On-Chip ทำงานด้วยความเร็วเดียวกันกับ CPU ที่ขนาด 512K และเจ้า Thunderbird นี้ จะเป็น CPU ตัวสุดท้ายที่ใช้งานบน Slot-A โดยรุ่นแรกๆ นั้นจะยังคงใช้งานบน Slot-A แต่รุ่นต่อๆ มาจะหันไปใช้งานบน Socket A ซึ่งเป็น Interface ใหม่ของทาง AMD .. เปิดตัวรุ่นตัวอย่างเป็นครั้งแรกที่งาน ISSCC'2000 ( International Solid-State Circuits Conference ) ที่จัดขึ้นในราวต้นเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2000 นี้เอง ด้วยความเร็วที่นำมาแสดง คือ 1.1 GHz และคาดว่าจะเริ่มการจำหน่ายจริงๆ ในราวไตรมาสที่ 2 ของปี ค.ศ. 2000 นี้ ... จากข้อมูลล่าสุด พบว่าในรุ่นแรกที่วางตลาดนั้น จะมี Cache ระดับ 2 เพียง 256K และมี Cache ระดับ 1 ที่ขนาด 128K ... Thunderbird นี้ จะมีทั้งรุ่นที่ใช้งานกับ Slot-A และกับ Socket A ครับ
Palomino (Athlon)
Athlon รุ่นใหม่ ( Socket A ) ที่ยังคงใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.18 ไมครอน ใช้ทองแดงเป็นตัวเชื่อมต่อภายใน ( Copper Interconnect ) แต่จะมีความเร็วเริ่มต้นที่ 1.4 GHz เลยทีเดียว และหันมาใช้ FSB เป็น 266 MHz ( DDR ) นอกจากนี้ ก็ยังได้พัฒนา และ ปรับปรุงขึ้น จาก Thunderbird อีกมากมาย ทั้งเรื่องของ Branch Prediction หรือเรื่องของความร้อนในขณะทำงาน ที่ลดน้อยลงกว่าเดิม หรือเรื่องของ Hardware Prefetch นอกจากนี้ก็ยังได้ทำการ Optimize ในส่วนของแกนหลัก ทั้งพัฒนาในส่วนของ FPU ( หน่วยประมวลผลเชิงทศนิยม ) และ ALU ( หน่วยประมวลผลเชิงตรรก ) อีกด้วย.. คาดว่าจะเริ่มต้นสุ่มตัวอย่างผลิต ในต้นปีค.ศ. 2002 และเริ่มจำหน่ายจริง ในไตรมาสถัดไป แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจมากๆ ก็คงไม่พ้นข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับทาง AMD ซึ่งได้ให้ข้อมูลว่า เจ้า Palomino นี้ จะเป็น CPU ของ AMD ตัวแรก ที่เอาชุดคำสั่งของ Intel SSE หรือ Streaming SIMD Extension ( Katmai ) มาใช้ โดยที่เราๆ ท่านๆ ก็ได้ทราบกันดีอยู่แล้วนะครับ ว่าชุดคำสั่งดังกล่าว เป็นชุดคำสั่งที่ทาง Intel ได้จดลิขสิทธิ์เอาไว้แล้ว ถ้า AMD จะมาใช้ก็ต้องเสียค่าหัวคิวให้กับทาง Intel ... แล้ว AMD นั้น เป็นคู่แข่งกับ Intel ... อย่างนี้ ก็ยิ่งน่าสนใจนะครับ
Thoroughbred (Athlon)
Athlon ในรุ่นถัดจาก Palomino ( Socket A ) ที่ลดขนาดของเทคโนโลยีการผลิตเหลือเพียง 0.13 ไมครอน ใช้ทองแดงเป็นตัวเชื่อมต่อภายในเช่นเดิม ( Copper Interconnect ) และมีความเร็วเริ่มต้นกันที่ 1.73 GHz เริ่มต้นสุ่มตัวอย่างผลิตในราวไตรมาสสุดท้ายของปี ค.ศ. 2001 และ ผลิตเป็น Production จริงๆ ในไตรมาสแรก ในปี ค.ศ. 2002
Barton (Athlon)
Barton นี้ เป็น Athlon ในรุ่นถัดจาก Thoroughbred จะใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 0.13 ไมครอน พร้อมด้วยเทคโนโลยีใหม่ SOI ( Silicon On Inulator ) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็วของ CPU ขึ้นมาอีก 20% แล้วยังจะช่วยลดความร้อนลงได้อีก
Spitfire (Duron)
เป็น Athlon รุ่น Socket เพราะใช้งานบน Socket A ( Socket-462 ) เท่านั้น แต่เป็นรุ่นราคาต่ำ เพราะมีขนาดของ Cache ระดับ 2 ที่น้อยกว่า Thunderbird เหลือประมาณครึ่งหนึ่ง ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน เช่นเคย คาดว่าจะมีจำหน่ายในราว ปลายๆมาสแรก หรือต้นๆ ไตรมาสที่ 2 ของปี ค.ศ. 2000 นี้เช่นกัน ทั้ง Spitfire และ Thunderbird ในรุ่นแรกนี้ ยังคงผลิตด้วย Aluminium และยังคงใช้ Aluminium สำหรับทำหน้าที่เป็นตัว Interconnect ด้วย แต่ Thunderbird รุ่นใหม่ที่จะหันไปใช้งานบน Socket A นั้น จะใช้ Copper ( ทองแดง ) เป็นตัวต่อเชื่อมภายในที่เรียกว่า Copper-Interconnect แล้วละครับ
Duron
ก็คือ Spitfire นั่นเองละครับ เพียงแต่ ทาง AMD นั้น พอถึงเวลาเปิดตัวอย่างเป็นทางการจริงๆ ก็กลับใช้ชื่อนี้ เป็นชื่อทางการค้าอย่างเป็นทางการแทนนั่นเอง
Morgan (Duron)
Duron ใน Generation ที่ 2 ( Socket A )... มีความเร็วเริ่มต้นที่ 900 MHz ยังคงใช้ เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.18 ไมครอน ยังคงมี Cache ระดับ 1 ขนาด 128KB และ Cache ระดับ 2 ขนาด 64 KB แต่อาจปรับไปใช้ FSB 266 MHz ( DDR ) แทน คือ ใช้สถาปัตยกรรมแกนหลักเดียวกันกับ Palomino นั่นเอง แต่จุดต่างกันอีกจุดหนึ่ง ก็คือยังคงใช้อลูมิเนี่ยมเป็นตัวเชื่อมต่อภายใน ( Aluminum Interconnect ) เช่นเดิม เริ่มสุ่มตัวอย่างผลิตในไตรมาสแรกของปีค.ศ. 2002 และเริ่มส่งจำหน่ายจริงในไตรมาสถัดไป
Appoloosa (Duron)
Duron ใน Generation ที่ 3 ( Socket A ) ... มีความเร็วเริ่มต้นที่ 1 GHz และหันมาใช้เทคโนโลยีการผลิตลดลงด้วยขนาด 0.13 ไมครอน และใช้สถาปัตยกรรมแกนหลักเดียวกับ Athlon Throughbred ต่างกันแค่ขนาดของ Cache ระดับ 2 เท่านั้นละครับ คาดว่าจะเริ่มสุ่มตัวอย่างผลิตหลังจาก Morgan ไม่นาน ( น่าจะเป็นไตรมาสที่ 2 ของปีค.ศ. 2002 ) และ เริ่มจำหน่าย ในไตรมาสถัดไป
Mustang
หรือ "Athlon Ultra" จะเป็น Athlon ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานระดับ Server/Workstation ใช้ Copper ในการผลิต ด้วยเทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน มีขนาดของ Cache On-Chip ระดับ 2 ตั้งแต่ 1-2 MB เลยทีเดียว ใช้งานบนระบบ Bus แบบ DDR FSB 133 MHz ( ก็จะเหมือนว่าทำงานด้วย Bus 266 MHz ละครับ ) และรองรับหน่วยความจำแบบ DDR SDRAM 400 MHz ที่ใช้ช่องความกว้างของ Bandwidth ถึง 2.1 GB เลยทีเดียว .. และเหมือนๆ กับ Thunderbird คือ รุ่นแรกจะใช้งานบน Slot-A และรุ่นต่อมาจะย้ายมาใช้ Socket A แทน เดิมทีคาดว่าจะออกสู่ท้องตลาดได้ในไตรมาสที่ 3 ของปี ค.ศ. 2000 ... แต่ปัจจุบัน ได้ถูกทาง AMD เขี่ยออกจาก Roadmap ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วละครับ
SledgeHammer
หรือ K8 ... CPU 64 Bit ในสาย x86 ตัวแรกของทาง AMD ที่เรียกว่า x86-64 ... เป็น CPU ที่เน้นสำหรับใช้งานด้าน Server / Workstation ใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.13 ไมครอน รองรับการใช้งานแบบ 4-8 way Multi Processor... นอกจากนี้ ก็ยังมีการใช้งานระบบบัสแบบใหม่ ที่เรียกว่า Lighting Data Transport หรือ LDT ซึ่งจะมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของ EV6 และ/หรือ EV7 Bus ผนวกกับ เทคโนโลยี SOI หรือ Silicon On Inulator ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็วของ CPU ขึ้นมาอีก 20% แล้วยังจะช่วยลดความร้อนลงได้อีกไม่น้อย คาดว่าจะเริ่มต้นสุ่มตัวอย่างทดสอบในไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2002 และเริ่มผลิตเป็น Production ในไตรมาสถัดไป
ClawHammer
CPU 64 Bit ( x86-64 ) ในตระกูลเดียวกันกับ SledgeHammer หากแต่เป็นรุ่นเล็กกว่า เนื่องจากลดขนาดของ Cache ภายใน และลดปริมาณการรองรับการใช้งานแบบ Multi Processor เหลือเพียงแค่ 1 หรือ 2 ทาง เท่านั้น (1-2 way) แต่รายละเอียดอย่างอื่น ก็จะเหมือนๆ กับ SledgeHammer ... ตัวนี้ ทาง AMD หมายจะเน้นมาใช้งานในตลาด Desktop PC ละครับ ... จะเริ่มสุ่มตัวอย่างทดสอบในราวไตรมาสสุดท้ายของปี ค.ศ. 2001 และ จะเริ่มผลิตเป็น Production ในราวต้นปี หรือในไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2001
นอกจากนี้ ยังมีข่าวอีกว่า ทาง AMD วางแผนจะใช้ชุดคำสั่ง SSE2 ที่เพิ่มเข้ามาใน Pentium4 อีก 144 คำสั่ง มาใช้อีกด้วย แต่ว่า จะใช้กับ CPU ในตระกูล Hammer ทั้งหลาย ได้แก่ ClawHammer และ SledgeHammer อีกด้วยละครับ
จากหัวใจ Thai-AMDclub.com



ความแตกต่างของ Intel และ Amd
AMD ต่างจาก Intel ตรงราคา ของ AMD จะเน้นทำราคาต่ำกว่าของ Intel แต่ถ้าวัดกันด้วยเทคโนโลยีของโน้ตบุ๊ก Intel นำหน้า AMD ไปไกลหลายช่วงตัวแล้วครับ ที่สำคัญ Intel ก็เป็นผู้ผลิต CPU รายแรกที่ทำตลาดในเรื่องของ Mobile CPU มานานหลายปีแล้วด้วย AMD เพิ่งลงมาทำตลาดไม่นานนี้เอง ที่สำคัญ Intel มีแพลตฟอร์ม Intel Centrino อันเป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับ Mobile CPU , Mobile Chipset และ Intel PRO/Wireless network Adapter ที่ถือเป็นจุดแข็งของอินเทลมาตั้งแต่แรกและคนทั่วโลกเองก็ให้การยอมรับในเรื่องนี้ด้วย รวมทั้งเรื่องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่น้อยและความคุ้มค่าสูง

ยิ่งในปัจจุบันนี้ Intel ได้ออกเทคโนโลยีอย่าง Santa Rosa platform มาเมื่อปีค.ศ. 2007 ก็ทำให้จุดแข็งของ Intel แข็งแกร่งยิ่งขึ้นครับ และในปีค.ศ. 2008 นี้ก็จะมีการเปิดตัวเทคโนโลยี Montevina platform ซึ่งรองรับ CPU ที่ใช้เทคโนโลยีขนาด 45 nm และปรับ FSB จากเดิม 800 MHz ขึ้นเป็น 1066 MHz ด้วย


Posted Image Posted Image
ส่วนเรื่องซื้อโน้ตบุ๊กมาเล่นเกม ถ้าเล่นเกม Online อย่างเดียวใช้การ์ดจอ On Board ก็พอครับ แต่ถ้าเอาไปเล่นเกม Offline เครื่องสเปก 25,000 บาทเล่นแทบไม่ได้แน่ๆครับ เพราะเครื่องราคาประมาณนี้การ์ดจอจะเป็น On Board เสียส่วนใหญ่ หรือถ้าเป็นการ์ดจอแยก (GPU Module) ก็เป็นรุ่นล่างสุดในการ์ดจอ Series นั้นๆ และใช้แรมร่วมกับเครื่อง ไม่ได้มีแรมแยกเฉพาะออกมาเป็นของตัวเองเหมือนการ์ดจอรุ่นกลางไปถึงสูง

ส่วนที่ถามว่า Intel Core 2 Duo เทียบได้กับ CPU รุ่นไหนของ AMD ถ้าเป็นเครื่อง Desktop PC จะเทียบเท่าและเหนือกว่า AMD Athlon 64 X2 แต่ถ้าเป็น Laptop PC จะเทียบเท่าและเหนือกว่า AMD Turion 64 X2


 
Posted Image
การ์ดจอโน้ตบุ๊ก nVIDIA GeForce 8800M GTX 512 MB DDR3
ซีพียู คืออะไร ?ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะ
CPU
เป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น
กลไกการทำงานของซีพียู
 ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู
• รีจิสเตอร์


วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

http://wownamsiri040.blogspot.com

                                                บทที่  1  ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

1.อธิบายความหมายของ "คอมพิวเตอร์"
ตอบ  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการทำงานซับซ้อนและอัติโนมัติ  มีการควบคุมการทำงานด้วยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่มนุษสร้างขึ้น  สามารถรับข้อมูลประมวลผลแสดงผลลัพธ์รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก


2.ผู้ค้นพบจำนวนระบบจำนวนเลขฐานสอง  ซึ่งประกอบด้วย  0  และ  1  คือใคร
ตอบ  ค.ศ  1673  กอตฟริต  ฟอนไลบนิซ  Gottfriedvon  Leibniz     1646-1716


3.บิดาแห่งคอมพิวเตอร์คือใคร
ตอบ  ชาร์ล แบบเบจ  (Charles  Babbage)


4.MARK  I  ถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลกที่ทำงานโดยอัตโนมัติทั้งเครื่อง  จัดเป็น  Digital  Computer  ระบบการทำงานของเครื่องเป็นแบบใด
ตอบ  ทำการคำนวณโดยการนับจำนวนโดยการทำงานแบบอิเล็กทรอนิกส์ลักษณธข้อมูลจัดเก็บด้้วยระบบเลขฐาน  2  คือ  0  และ  1  และทำงานแบบกึ่งไฟฟ้าเครื่องจักรกล



5.เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลกคือเครื่องใด
ตอบ  คือเครื่อง  ENIHC  (Electronic  Numerical  Integrator  and  Calculator)



ตอนที่3 

 1.  คอมพิวเตอร์จำแนกตามขนาดได้  4  ขนาด  จงเปรียบเทียบและอธิบายความแตกต่างขนาดของคอมพิวเตอร์
ตอบ  คอมพิวเตอร์ทั้ง  4   ขนาด  แตกต่างกันตรงที่ความเร็ว  ราคา  การประมวล  และหน่วยความจำของเครื่อง

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

http://wownamsiri040.blogspot.com

คอมพิวเตอร์ คืออะไรและประวัติคอมพิวเตอร์มีความเป็นมาอย่างไร
        คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนตามคำสั่งของโปรแกรม มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" ขั้นตอนการทำงานจะประกอบด้วย การรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้ แล้วทำการคำนวณ เคลื่อนย้ายเปรียบเทียบ จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

ขั้นตอนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

Computer

        ประเภทของคอมพิวเตอร์ถ้าจำแนกตามลักษณะ วิธีการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ คือ แอนะล็อกคอมพิวเตอร์ (Analog Computer) และดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer)

Analog Computer (แอนะล็อกคอมพิวเตอร์)
        แอนะล็อกคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลข เป็นหลักของการคำนวณ ไม้บรรทัดคำนวณถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ โดยใช้ไม้บรรทัดที่มีขีดแสดงตำแหน่งของตัวเลขการคำนวณจะใช้ไม้บรรทัดหลายอัน มาประกอบเพื่อหาผลลัพธ์ เช่น การคูณ ซึ่งจะเป็นการเลื่อนไม้บรรทัดหนึ่งให้ไปตรงตามขีดตัวเลขที่เป็นตัวตั้งและ ตัวคูณในไม้บรรทัดหนึ่ง แล้วไปอ่านผลคูณที่ขีดตัวเลขซึ่งอยู่บนอีกไม้บรรทัดหนึ่ง แอนะล็อกคอมพิวเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์จะใช้หลักการทำนองเดียวกัน โดยใช้แรงดันไฟฟ้าแทนขีดตัวเลขตามแนวยาวของไม้บรรทัด
        แอนะล็อกคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่ เป็นตัวกระทำและเป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ จึงเหมาะสำหรับงานคำนวณทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมที่อยู่ในรูปของสมการทางคณิตศาสตร์ เช่น การจำลองการบิน การศึกษาการสั่นสะเทือนของตึกเนื่องจากแผ่นดินไหว เป็นต้น ใน
        ปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ เพราะผลการคำนวณมีความละเอียดน้อย ทำให้มีขีดจำกัดใช้ได้กับงานเฉพาะบางอย่างเท่านั้น ปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นแอนะล็อกคอมพิวเตอร์เท่าไรนัก เพราะผลการคำนวณมีความละเอียดน้อย ทำให้มีขีดจำกัดใช้ได้เฉพาะงานบางอย่างเท่านั้น

Digital Computer (ดิจิทัลคอมพิวเตอร์)
        ดิจิทัลคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานเกี่ยวกับตัวเลข ค่าตัวเลขของการคำนวณในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะแสดงเป็นหลัก แต่จะเป็นระบบเลขฐานสองที่มีสัญลักษณ์ตัวเลขเพียงสองตัว คือ 0 และ 1 เท่านั้น โดยสัญลักษณ์ทั้งสองตัวนี้ จะแทนลักษณะการทำงานภายในซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ต่างกัน การคำนวณภายในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะเป็นการประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสองทั้งหมด เครื่องดิจิทัลคอมพิวเตอร์หรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า คอมพิวเตอร์ กำลังได้รับความนิยมกันมากในขณะนี้ และพบเห็นอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน

วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
        จุดเริ่มต้นในการคิดค้นเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเกิดจากความต้องการในการนับ และคิดคำนวณของมนุษย์โดยในยุคแรกคือช่วงคริสต์ศักราช 1200 การคิดคำนวณยังไม่ซับซ้อน ในประเทศจีนมีการใช้อุปกรณ์ช่วยในการนับที่เรียกว่าลูกคิด (abacus) ต่อมาเมื่อมนุษย์ต้องการการคิดคำนวณที่ซับซ้อน และต้องอาศัยเครื่องมือช่วยงานที่มีความสมารถหลากหลาย จึงได้มีการพัฒนาเครื่องช่วยคำนวณที่ซับซ้อนแล้วก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งในยุคปัจจุบันเรามีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการคำนวณ งานและประยุกต์ใช้งานได้หลายประเภท เช่น การสื่อสาร การประมวลผลข้อมูลหรือแม้แต่ให้ความบันเทิง นอกจากนั้นรูปลักษณ์ของคอมพิวเตอร์ยังพัฒนาจนมีขนาดเล็กง่ายต่อการพกพา

2.Pascal
เครื่องคำนวณปาสคาลที่คิดค้นโดยเบลส ปาสคาล

        การพัฒนาเครื่องคำนวณเป็นไปอย่างต่อเนื่องและน่าสนใจ เราสามารถแบ่งลักษณะของเครื่องคำนวณที่สร้างสร้างขึ้นได้เป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกที่เครื่องคำนวณมีการทำงานเป็นกลไกแบบเครื่องจักรกลและค่อยๆ พัฒนาถึงปัจจุบันคือช่วงที่เครื่องคำนวณหรือเครื่องคอมพิวเตอร์มีการทำงาน โดยใช้ไฟฟ้าทั้งหมด
        ในช่วงแรกที่มีการพัฒนาเครื่องคำนวณที่ทำงานแบบเครื่องจักรกล เครื่องคำนวณที่มีชื่อเสียงใช้คำนวณการบวกลบเลขที่แท้จริง ชื่อว่า เครื่องคำนวณปาสคาล (Pascal calculator) ทีประดิษฐ์ขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) และต่อมานักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ กอดฟริด ฟอน ไลบ์นิช (Gottfried Von Leibnitz) ได้ประดิษฐ์เครื่องคำนวณที่มีความสามารถในการคูณ หาร และหารากที่สองได้ ชื่อว่าเครื่องคำนวณสเต็ป เรคคอนเนอร์ (Stepped Reckconer)

3.Stepped-Reckconer
เครื่องคำนวณสเต็ป เรคคอนเนอร์

        เมื่อความรู้ด้านคณิตศาสตร์พัฒนาต่อไป นักคณิตศาสตร์ต้องการเครื่องมือที่มีความสามารถมากขึ้นเพื่อช่วยในการคำนวณ ในปี พ.ศ. 2343 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อว่าชาร์ลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาเครื่องคำนวณที่ เรียกว่าดิฟเฟอร์เรนซ์เอนจิน (difference engine) ที่สามารถคำนวณตัวเลขของตารางคณิตศาสตร์ เช่น ตรีโกณมิติและลอการิทึมได้และต่อมาได้พัฒนาเป็นเครื่องคำนวณที่มีหลักการทำ งานใกล้เคียงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน โดยนำบัตรเจาะรูเข้ามาช่วยในการทำงาน ตั้งแต่ควบคุมกระบวนการทำงาน

4.Difference-engine
เครื่องดิฟเฟอร์เรนซ์เอนจิน

        จนกระทั่งใช้เป็นหน่วยความจำ และมีวงล้อหมุนเรียกว่ามิล (mill) เป็นหน่วยคำนวณเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ เครื่องคำนวณแบบนี้ถือได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกและมี ชื่อว่าแอนาไลติคอลเอนจิน (analytical engine) จากนั้นมา การพัฒนาเครื่องคำนวณยังคงมีต่อมาเรื่อยๆ จนมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไฟฟ้าในการทำงาน โดยเริ่มต้นใช้หลอดสูญญากาศเป็นองค์ประกอบของวงจรไฟฟ้า และจุดนี้เองนับเป็นจุดเริ่มต้นในการนับแบ่งยุคของคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ที่เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ล้วนๆ และถ้าแบ่งยุคของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่นี้ออกตามลักษณะโครงสร้างและเทคโนโลยี จะแบ่งได้ดังต่อไปนี้

5.Analytical-engine
เครื่องแอนาไลติคอลเอนจิน

6.Punched-cards
บัตรเจาะรู

1.ยุคหลอดสูญญากาศ
        ยุคนี้อยู่ระหว่าง พ.ศ.2488 – 2501 เครื่องคอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้ หลอดสูญญากาศ (vacuum tube) ซึ่งเป็นอุปกรณ์เล็กทรอนิกส์ขนาดเท่าหลอดไฟฟ้าตามบ้านเป็นองค์ประกอบหลัก ของวงจรไฟฟ้า และใช้บัตรเจาะรูในการเก็บข้อมูลและคำสั่งที่ให้คอมพิวเตอร์ทำงาน และใช้ดรัมแม่เหล็ก (magnetic drum) เป็นหน่วยความจำหลัก ดรัมแม่เหล็กทำด้วย วงแหวนแม่เหล็กขนาดเล็ก ๆ เท่าหัวเข็มหมุดจำนวนมากมาย วงแหวนเหล่านี้ถูกร้อยด้วยเส้นลวดเล็ก ๆ เหมือนการร้อยลูกปัด หรือ หน้าต่างมุ้งลวดที่มีวงแหวนคล้องอยู่ที่จุดตัดของเส้นลวด หน่วยความจำหลักนี้จะเก็บข้อมูลเฉพาะในขณะที่มีการประมวลผลเท่านั้น คอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีความเร็วในการทำงานอยู่ในหน่วยหนึ่งในพันวินาที (millisecond)

7.vacuum-tube
หลอดสูญญากาศ

        ในระยะแรก จุดประสงค์ของการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้เพื่อช่วยในงานวิจัยด้าน วิทยาศาสตร์ และเครื่องอมพิวเตอร์ที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกมีชื่อว่า อินิแอค (Electronic Number Integrator and Calculator : ENIAC) ได้รับการพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2486 เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยหลอดสูญญากาศประมาณ 18,000 หลอด ทำให้มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ต่อมาในปี 18,000 หลอด ทำให้มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ต่อมาในปี 2491 ได้มีการพัฒนาเครื่องอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถใช้งานทางธุรกิจ ชื่อว่า ยูนิแวค (Universal Automatic Company : UNIVAC) ทั้งนี้เพื่อใช้ช่วยในการสำรวจสำมะโนประชากร
        การสั่งงานคอมพิวเตอร์ยุคนี้ในระยะแรกจะใช้ภาษาเครื่อง ซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ทำให้ใช้งานลำบาก จึงได้มีการคิดค้นภาษาสัญลักษณ์ (symbolic language) ขึ้นช่วยงาน โดยใช้ภาษาชนิดเขียนคำสั่งเป็นภาษาอังกฤษก่อนและจึงใช้ตัวแปลภาษาแปลงเป็น ภาษาเครื่องอีกครั้งหนึ่ง
        ปัญหาของคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสูญญากาศ นอกจากขนาดและน้ำหนักที่มากแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องความร้อน เนื่องจากหลอดดังกล่าวต้องใช้พลังงานสูงทำให้เกิดความร้อนจากการใช้งานสูง และไส้หลอดขาดง่าย ทำให้มีการพัฒนาอุปกรณ์อื่นขึ้นใช้งานแทน

2. ยุคทรานซิสเตอร์
        ยุคนี้อยู่ระหว่าง พ.ศ. 2502 - 2506 เครื่องคอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้ทรานซิสเตอร์ (transistor) เป็นองค์ประกอบหลักของวงจรไฟฟ้าแทนหลอดสูญญากาศ โดยผู้ที่คิดค้นทรานซิสเตอร์คือนักวิทยาศาสตร์สามคนของห้องปฏิบัติการเบลล์ (Bell Laboratories) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้แก่ บาร์ดีน (J.Bardeen) แบรทเทน (H.W.Brattain) และชอคเลย์ (W.Shockley) การ
ใช้ทรานซิสเตอร์ในการผลิต คอมพิวเตอร์แทนหลอดสูญญกาศทำให้ตัวคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมมาก โดยทรานซิสเตอร์ที่พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกมีขนาด 1 ใน 100 ของหลอดสูญญากาศเท่านั้น นอกจากขนาดเล็กแล้วยังมีคุณสมบัติที่ดีอีกหลายประการคือ ไม่เปลืองกระแสไฟฟ้า ไม่ต้องใช้เวลาอุ่นเครื่องเมื่อแรกเปิดเครื่อง ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มี
ประสิทธิภาพและความเร็วเพิ่มขึ้น จนกระทั่งสามารถบวกจำนวน 2 จำนวนได้ในเวลาประมาณหนึ่งในล้านวินาที (microsecond) โดยที่ทรานซิสเตอร์เป็นปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ที่ สำคัญยิ่ง จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั้งสามคนได้รับรางวัลโนเบล

8.Transistor-Computer
เครื่องคอมพิวเตอร์ทรานซิสเตอร์

9.Transistor
ทรานซิสเตอร์ (Transistor)

        นอกจากจะมีวิวัฒนาการเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ยังมีการพัฒนาภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย ในยุคนี้มีการใช้ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้คำย่อเป็นคำสั่งแทนรหัสตัวเลข ทำให้การเขียนโปรแกรมสะดวกขึ้น หลังจากนี้ก็มีการพัฒนาภาษาระดับสูง คือ ภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ง่าย เช่นในกลางปี พ.ศ. 2498 เริ่มมีการใช้ภาษาฟอร์แทรน (FORmular TRANstator : FORTRAN) ในงานทางด้านคณิตศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2502 มีการพัฒนาภาษาโคบอล (Common Business Oriented Language : COBOL) ใช้ในทางด้านธุรกิจ ทั้งสองภาษานี้ยังมีใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ถึงปัจจุบัน
        ในปี พ.ศ. 2505 มีการนำชุดจานแม่เหล็กที่ถอดเปลี่ยนได้มาใช้บันทึกข้อมูลแทนการใช้เทปแม่ เหล็ก เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ยุคนี้ทำให้ค่าใช้จ่ายในการใช้คอมพิวเตอร์ถูกลง และทำให้ธุรกิจต่าง ๆ เริ่มนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในกิจการมากขึ้น

3. ยุควงจรรวม
        ยุคนี้อยู่ระหว่าง พ.ศ. 2507 – 2512 เป็นยุคที่มีการพัฒนาวงจรไอซี (Integrated Circuit : IC) ซึ่งเป็นการบรรจุวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากลงบนแผ่นซิลิคอนเล็ก ๆ เช่น แผ่นซิลิคอนขนาดเล็กกว่า 1/8 ตารางนิ้ว สามารถบรรจุชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ได้หลายร้อยวงจร ไอซีจึงเข้ามาทำ หน้าที่แทนทรานซิสเตอร์ เนื่องจากมีคุณสมบัติเด่น 4 ประการคือ
        3.1 มีความเชื่อถือได้ หมายความว่า ไม่ว่าจะใช้งานกี่ครั้งกี่หน ก็จะได้ผลออกมาเหมือนเดิม คอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสูญญากาศจะเกิดการขัดข้องโดยเฉลี่ยแล้วทุกๆ 15 วินาที ส่วนไอซีมีปัญหาเช่นนี้น้อยมาก คือ 1 ครั้ง ใน 23 ล้านชั่วโมง
        3.2 มีความกระชับ เนื่องจากวงจรได้ถูกย่อส่วนให้เล็กทำให้อุปกรณ์มีขนาดเล็กกระทัดรัด มีความเร็วในการทำงานเพิ่มมากขึ้น
เพราะวงจรอยู่ใกล้กันมากระยะเวลาในการเดินทางของกระแสไฟฟ้าจะน้อยลง
        3.3 ราคาถูก เนื่องจากมีการผลิตเป็นปริมาณมาก ๆ ทำให้ต้นทุนถูกลง
        3.4 ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ทำให้ประหยัด

10.IC
เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุควงจรรวม

11.IC
วงจรรวม (Integrated Circuit : IC)

        ใน พ.ศ. 2507 บริษัทไอบีเอ็ม นำคอมพิวเตอร์รุ่น 360 ออกสู่ตลาด ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มยุคที่สามของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์รุ่น 360 นี้ได้ออกแบบมาเพื่อใช้งานได้ทั้งทางวิทยาศาสตร์และทางธุรกิจที่ใช้หลักการ ซึ่งมีลักษณะเด่นหลายประการ เช่น ประการแรกเครื่องรุ่นนี้มีด้วยกันหลายแบบตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ แต่ละแบบใช้ภาษาเดียวกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนจากเครื่องเล็กเป็นเครื่องใหญ่ได้ง่าย ประการที่สองเครื่องรุ่นนี้เริ่มนำระบบปฏิบัติการขนาดใหญ่มาใช้เป็นตัวกลาง ในการควบคุมการติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ

4. ยุควีแอลเอสไอ
        จากวงจรไอซีได้มีการพัฒนาวงจรรวมความจุสูงหรือแอลเอสไอ (Large Scale Integrated Circuit : LSI) ขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ.2513 ทำให้สามารถบรรจุวงจรทรานซิสเตอร์จำนวนหลายพันตัวลงบนแผ่นซิลิคอนขนาด 1/6 ตารางนิ้ว นับเป็นการเริ่มยุคที่สี่ของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ระหว่าง พ.ศ.2513 – 2532 และในปี พ.ศ. 2518 สามารถเพิ่มปริมาณวงจรหลายหมื่นวงจรลงบนซิลิคอนขนาดเท่าเดิม เรียกว่า วงจรรวมความจุสูงมากหรือวีแอลเอสไอ (Very Large Scale Integrated Circuit : VLSI) จากการประดิษฐ์วีแอลเอสไอสามารถนำมาสร้างเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (Central Processing Unit : CPU) ของคอมพิวเตอร์ และสามารถลดขนาดของคอมพิวเตอร์ให้เล็กลงจนสามารถตั้งบนโต๊ะทำงานในสำนักงาน หรือพกพาไปในที่ต่างๆ เหมือนกระเป๋าหิ้วได้ เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เกิดในยุคนี้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์(microcomputer) นอกจากนี้ ยังสามารถนำวงจรวีแอลเอสไอมาสร้างเป็นหน่วยความจำรองที่สามารถเก็บข้อมูลใน ระหว่างที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ ทำให้ได้หน่วยความจำที่มีความจุมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ยุคนี้จะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนคอมพิวเตอร์นอกจากช่วยงานคำนวณแล้วยังสามารถทำงานเฉพาะทางอื่นๆ ได้มากกว่าช่วยงานคำนวณ เช่น การนำเสนอข้อมูลแบบสื่อประสม

12.Personal-Computer
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer)

13.Microprocessor
ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor)

        วงจรวีแอลเอสไอที่รวมทรานซิสเตอร์ได้นับพันตัวไว้บนแผ่นซิลิคอนที่มีขนาด เล็กมากเมื่อเทียบกับมือคนนอกจากการพัฒนาในระบบฮาร์ดแวร์แล้ว ในยุคนี้ยังมีการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ให้มีขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีการพัฒนาระบบปฏิบัติการที่มีการติดต่อกับผู้ใช้ในรูปของกราฟิกที่เรียกว่า จียูไอ (Graphic User Interface : GUI) แทนการติดต่อแบบรายคำสั่ง (command line interface)ที่เป็นการพิมพ์คำสั่งทีละคำสั่งเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ทำงาน เช่นในอดีต ปัจจุบันเริ่มมีการใช้เมาส์ในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ และยังมีการพัฒนาซอฟต์แวร์สำเร็จช่วยงานจำนวนมาก ทั้งที่เป็นงานสำนักงานทั่วไปและงานเฉพาะทาง เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์นำเสนอ ซอฟต์แวร์เหล่านี้ก็จะมีการติดต่อกับผู้ใช้แบบจียูไอ ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น การใช้งานคอมพิวเตอร์จึงได้รับความนิยมสูงขึ้นมากในยุคนี้

5. ยุคเครือข่าย
        หลังจากที่มีการคิดค้นวงจรวีแอลเอสไอขึ้นแล้วใช้หน่วยประมวลผลกลางและหน่วย ความจำหลักในคอมพิวเตอร์แล้ว การพัฒนาวงจรวีแอลเอสไอก็ยังคงมีอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จนในปัจจุบันสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ลงบนแผ่นซิลิคอนขนาดเล็กเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทุกๆ 18 เดือน เป็นผลให้คอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อคอมพิวเตอร์ใน
ปัจจุบันสามารถทำงานได้เร็วขึ้นประมวลผลข้อมูลได้ที ละมากๆ ทำงานได้หลายงานพร้อมกัน รวมทั้งสามารถแสดงผลในรูปของสื่อประสมได้ ความนิยมนำคอมพิวเตอร์มาช่วยงานจึงขยายวงกว้างอย่างรวดเร็วและในทุกวงการ ยุคนี้จะมีความพยายามในการ
        ประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์กับงานหลายประเภท เช่น มีความพยายามนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการในแขนงที่เรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง
        นอกจากนี้ ในยุคนี้ก็มีการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อ กันอยู่ในเครือข่ายสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ได้ โดยเริ่มจากการทำงานเป็นกลุ่ม (work group) โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ในกลุ่มเดียวกันสามารถใช้อุปกรณ์รอบข้าง เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ สามารถเรียกใช้ข้อมูลที่อยู่ในเครื่องอื่นในกลุ่มได้ โดยใช้เครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งจะเชื่อมคอมพิวเตอร์นับร้อยเครื่องที่อยู่ภายในบริเวณเดียวกัน เช่น ในอาคารเดียวกัน หรือระหว่างอาคารที่อยู่ในรั้วเดียวกันเข้าด้วยกันจากความสะดวกของการทำงาน บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เทคโนโลยีนี้ได้รับความนิยมสูงมาโดยตลอด มีผลให้การพัฒนาและการประยุกต์ใช้งานบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาก ไม่ว่าจะเป็นการจัดการข้อมูลหรือการคิดคำนวณ ดังจะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาขีดความสามารถของอุปกรณ์ต่อเชื่อมในเครือข่าย เช่น มีการพัฒนาสายเชื่อมโยงให้มีความทนทานและสามารถส่งข้อมูลได้มากขึ้น การพัฒนาขีดความสามารถของเครื่องแม่ข่ายในระบบให้มีหน่วยความจำมากขึ้นและ ประมวลผลได้เร็วขึ้น


อุปกรณ์ Input  และ Output
 (Input and Output Device)

หัวข้อ (Topic)
    4.1  อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device)
    4.2  อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Output Device)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Learning  Objective)
        1.  บอกชื่ออุปกรณ์ที่ใช้เป็น Input และ Output มาตรฐานได้
        2.  อธิบายการทำงานของอุปกรณ์ Input และ Output มาตรฐานได้
        3.  ให้คำแนะนำในการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานได้    

4.1  อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device)
Input  หมายถึง  การป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผล  โดย  User  จะเป็นผู้ป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่อง (input) และเครื่องจะนำไปประมวลผลเป็นข่าวสาร   ซึ่งอุปกรณ์ในการนำเข้าข้อมูลมาตรฐาน ได้แก่   Mouse,  Keyboard   และ  Scanner

Keyboard 

จะสร้างสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์และแปลงเป็นตัวอักษรคล้ายกับเครื่องพิมพ์ดีด  ซึ่ง Keyboard  จัดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่อง   ในแต่ละอุตสาหกรรมอาจมี  Keboard   ที่มีลักษณะเฉพาะเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการใช้งาน

                                ลักษณะการทำงานของ Keyboard

ใช้  Keyboard controller   เป็นตัวรับข้อมูลว่าปุ่มใด (Key)  ถูกกด  และจะทำการแปลงค่าสัญญาณเพื่อส่งต่อไปยังส่วนหนึ่งใน Keyboard  buffer  เพื่อบันทึกว่า Key ใดถูกกด  และ Keyboard controller  จะส่ง Interrupt  Request ไปยัง  System  Software ให้ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นที่ Keyboard  ซึ่ง Keyboard ที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน มีทั้ง Keyboard  แบบปกติที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป  และ Keyboard  แบบพิเศษ ที่มีรูปทรงที่แปลกตา


Ergonomic keyboards

ถูกออกแบบให้ลดการตึง   เกร็ง  การเคล็ดของข้อมือซึ่งอาจทำให้เกิด

อันตรายได้หากคุณต้องพิมพ์งานเป็นเวลานาน ๆ  โดย Ergonomic keyboards   

ถูกออกแบบให้มีตำแหน่งการวางข้อมือและแขนเป็นพิเศษ


Mouse  

ใช้ในการเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ (Pointer) บนหน้าจอ โดยการขยับ Mouse เลื่อนไปมาบนโต๊ะที่มีพื้นเรียบ    ซึ่งการขยับ Mouse แต่ละครั้งจะสัมพันธ์กับตำแหน่งของ Pointer บนหน้าจอ และรับคำสั่งเมื่อมีการกดปุ่มของ Mouse (click)  ซึ่งคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ Mouse มี 4 คำด้วยกันคือ

-                    Click
-                    Double Click
-                    Right Click
-                    Drag and  Drop

ประเภทของ Mouse
Mechanical  mouse: ใช้ลูกบอลเล็ก ๆ ในการกลิ้ง-หมุน ซึ่งลูกบอลจะอยู่ใต้ mouse




Optical  mouse : ใช้ลำแสงควบคุมการเคลื่อนที่ของ  mouse



Cordless  mouse : เม้าส์ไร้สาย  ใช้เคเบิลส่งคลื่นแสง  infrared หรือคลื่นวิทยุ เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์



 

 

การทำงานของ Mouse

                                มี 2 แกน วางอยู่เป็นมุมฉากข้างลูกบอล  ซึ่งแกนดังกล่าวจะเป็นแกนหมุนสัมผัสกับลูกบอล

และจะหมุนเมื่อลูกบอลเคลื่อนที่   ตัวดักสัญญาณจะส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ทราบว่าแกนหมุน  หมุนไปมากน้อย

แค่ไหนเพื่อให้คอมพิวเตอร์แปลงสัญญาณและเลื่อนตำแหน่งให้สอดคล้องกับ Mouse

Mouse จัดเป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้  ซึ่งอุปกรณ์ประเภทตัวชี้นี้ ไม่ได้มีเฉพาะ Mouse เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอุปกรณ์ ตัวชี้ชนิดอื่นด้วย  ที่มีหน้าที่การทำงานเช่นเดียวกับ Mouse แต่รูปทรงและลักษณะนั้นแตกต่างออกไป  เช่น  อุปกรณ์ที่ใช้เล่นเกม  อุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Laptop หรือ Notebook

 

Trackball

มีลักษณะคล้ายกับ mouse แต่ไม่มีแกนบังคับ   ใช้การหมุนลูกบอลในการ

    ทำงาน  ส่วนมากใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์  Laptop   ทำงานโดยการหมุนลูกบอล

       โดยตรง เพื่อให้ Cursor เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ ต้องการ

Joystick

มีด้ามสั้น ๆ ให้จับ   ควบคุมการเคลื่อนที่ของ pointer  โดยใช้การกด

ไกปืนเพื่อทำงาน

 


Touchpad

มีรูปทรง 4  เหลี่ยม ใช้การกดและรับความไวของการเคาะ    มีเสียงในการกดเคาะ ดังแปะ ๆ (เหมือนการ Click)  สามารถเลื่อน  pointer ได้โดยการลูบในพื้นที่ 4 เหลี่ยม    การเลื่อน Cursor จะอาศัยนิ้วมือกดและเลื่อน  เป็นอุปกรณ์ที่ติดอยู่กับ Notebook

 


Pointing stick

เป็นลูกทรงกลมเล็ก ๆ ไวต่อการกด  วางอยู่กึ่งกลาง keyboard  ใช้การ

หมุนเพื่อควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของ pointer

 


Graphics tablet

ใช้ปากกาควบคุมการย้ายตำแหน่ง  วางอยู่บนกระดาน (Board)  ส่วนมากใช้สร้างแผนงานหรือวาดบทย่อ  หรือบทสรุปต่าง ๆ


Digitizer
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเขียนแบบ ที่เราเรียกว่า “Digitizing tablet” ขนาดของตารางจะแตกต่างกัน   ตารางจะมีการเชื่อมต่อสายเคเบิลเข้ากับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มีการวาดภาพบนตาราง ตัวชี้บนตารางเราเรียกว่า Grid เพื่อกําหนดตําแหน่งในการป้อนข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์


Touch  screen

จอสัมผัส  เป็นได้ทั้งอุปกรณ์ Input และ Output  ใช้นิ้วมือ

สัมผัสบนหน้าจอ จากนั้นจอภาพจะพิจารณากลุ่มข้อมูลที่ Input  เข้าสู่ระบบ  ส่วนมากใช้ในสถานที่ใหญ่ ๆ ที่มีคน

จำนวนมาก   เช่น  นำตู้ ATM แบบ  Touch  screen  ไปวางในห้างสรรพสินค้า

การทำงานของ   Touch  screen  จะใช้  Membrane layer ทำหน้าที่ตรวจสอบการถูกกดบนตำแหน่งหน้าจอ  โดยแต่ละแผ่นจะแยกการตรวจสอบตามแกน x,y  โดยมีการใช้สายไฟ 4 เส้น  layer ละ 2  เส้น เมื่อมีการกดหน้าจอทั้ง  2  layer จะทำการส่งสัญญาณไฟฟ้าไปให้ Controller            


Pen-based computing

ใช้ปากกาแสง (Light Pen) ในการนำเข้าข้อมูล   พบในเครื่อง PDA  และ Pocket  PC 

การทำงาน  สามารถรับข้อมูลโดยการใช้ปากกาอิเล็กทรอนิกส์เขียนลงบนหน้าจอของ  PDA หรือ Pocket  PC  ซึ่ง หน้าจอถูกออกแบบมาให้ใช้ร่วมกับอุปกรณ์นี้โดยเฉพาะ พร้อมทั้งรับรู้ทิศทางการเคลื่อนไหวโดยใช้ความไวแสงเพื่อกําหนดตําแหน่งที่ชี้บนจอภาพ    บอกได้ว่ากำลังเขียนตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ใด สามารถอ่านลายเซ็นได้


Scanner 

ใช้ในการอ่านอักขณะพิเศษ   ตัวเลข   และสัญลัษณ์ต่าง ๆ

                Flatbed  scanner :  จะ scan  ครั้งละ 1 หน้า  สามารถ scan เอกสารขนาดใหญ่ได้






Sheetfed  scanner : จะดึงกระดาษเขาไป scan   ต้องกลับด้านของกระดาษ 






 


Laser scaner : ปัจจุบันมีหลากหลายชนิดให้เลือก รวมทั้งเครื่อง Scan  แบบสั่น  โดยส่วนมากแล้วหากใช้งาน ณ.จุดขายหน้าร้าน (POS: Point of Sale)  ก็จะต้องมีอุปกรณ์อื่นที่ต้องใช้ร่วมกัน  เช่น เครื่องออกใบเสร็จ (Receipt printer)  เครื่อง print bar code  (Bar code printer)     จอคอมพิวเตอร์ที่ใช้ร่วมด้วยจะมีขนาดเล็ก (9” VGA MONO  หรือ 10” COLOR MONITOR)   keyboad  ที่ใช้ก็จะมีเฉพาะตัวเลข (Numeric keyboard)  รวมทั้งต้องใช้เครื่องช่างน้ำหนัก   ป้ายแสดงจำนวนเงิน  เครื่องลงเวลา (Access Control and Time)  ลิ้นชักควบคุม

(Cash Drawer)  เครื่องรูดบัตรชนิดต่าง ๆ  เป็นต้น

 

Bar Codes   Readers

เครื่องอ่านรหัสบาร์โค๊ด (Bar Code Readers)  เป็นอุปกรณ์ที่นํามาใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ในการประยุกต์ใช้งานทางด้านธุรกิจ  เช่น  อ่านป้ายบอกราคาสินค้า เพื่อสะดวกในการคำนวณจำนวนเงิน และสามารถป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากการบันทึกข้อมูลของผู้ใช้  รหัส Bar code ที่ใช้ในทางธุรกิจ เราเรียกว่า Universal Product Code (UPC)  โดยจะมีขีดสัญลักษณ์ในแนวตั้งขีดเรียงกัน (Bar code)   สัญลักษณ์นั้นแทนด้วยแถบสีขาวและดำที่มีความกว้างแทนค่าเป็น 1  และแคบแทนค่าเป็น   0  การอ่านข้อมูลนั้นพื้นที่ภายในแถบและช่องว่างจะทำให้เกิดความแตกต่างของการสะท้อนกลับ         

ประเภทของเครื่องอ่าน Bar Code
Hand  held  scaner  :  การใช้งานนั้นจะลากอุปกรณ์ผ่านรหัส Bar code  เครื่องจะทํา
การวิเคราะห์แสงที่ผ่านแท่งดําๆ ของรหัส  ว่าข้อมูลที่อ่านไว้เป็นรหัสอะไรและนําไปเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมที่คอมพิวเตอร์บันทึกเอาไว้ มีขนาดเครื่องเล็กและความแม่นยำต่ำ
               
                Cash Register  scaner :  มักพบเห็นในห้างสรรพสินค้า หรืองานที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไป  เช่น ใช้อ่าน Bar Code ของสินค้าหรือใช้อ่านรหัสบัตร

 





Optical Mark Readers (OMR) 
เครื่องอ่านข้อมูลด้วยแสง (Optical Mark Readers)     เช่น  การอ่านข้อมูลบัตร Credit  หรือตรวจกระดาษคำตอบปรนัย   โดยจะบันทึกสัญลักษณ์หรือคำตอบเอาไว้ในคอมพิวเตอร์  และอาศัยการอ่านข้อมูลจากเครื่อง OMR เข้าไปเปรียบเทียบกับสัญลักษณ์ที่บันทึกเอาไว้
Optical Character Recognition (OCR) 
เป็นซอฟต์แวร์ของ Scanner แบบตัวอักขระ (text)   ซึ่งเป็น  software  ที่ต้องจัดหาหรือซื้อเพิ่มเพื่อการใช้งาน

Magnetic  Ink  Character Recognition (MICR)
เครื่องอ่านหมึกแม่เหล็ก  (Magnetic  Ink  Character Recognition  : MICR) ใช้ในการประมวลผลหมายเลขรหัสเช็คของธนาคาร  โดยเครื่องจะอ่านหมึกแม่เหล็กที่เป็นตัวเลข และสัญลักษณ์ ที่พิมพ์ลงบนเช็ค    ใช้ตรวจสอบการลายเซ็น   หรือการมอบอำนาจในการสั่งจ่ายเช็ค

Smart Cards Reader
เครื่องอ่าานบัตร Smart Cards  ถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์  ในบัตร Smart card ประกอบด้วยไมโครชิพ   ที่สามารถประมวลผลได้ด้วยคอมพิวเตอร์   มีหน่วยความ
จําเก็บข้อมูลได้โดยไม่สูญหายไม้ไฟฟ้าดับ   การใช้บัตรจะต้องสอดบัตรเข้าไปให้เครื่องอ่านบัตร และป้อนรหัสผ่านจากคีย์บอร์ด บัตรจะมีหน่วยความจําและไมโครชิพจะเก็บเรคคอร์ดไว้อย่างถาวร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อถูกใช้งาน   การใช้บัตรจะเกี่ยวข้องกับการประมวลผลทรานเซคชั่น ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต บัตรATM เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงเรคเคอร์ดของลูกค้าธนาคาร

 

Terminal
ประกอบด้วยจอภาพ  คีย์บอร์ด และอุปกรณ์ในการเชื่อมโยงการสื่อสารข้อมูล  เป็นอุปกรณ์ปลายทางที่เชื่อมต่อเข้าคอมพิวเตอร์หลัก ใช้สําหรับบันทึกข้อมูลและการสืบคืนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หลัก   จำแนก Termianl  ได้ 3 ประเภทดังนี้
1. Dumb terminal  ทําหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลและเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เพียงอย่างเดียว





2. Smart terminal มีขีดความสามารถสูงกว่าชนิดแรก ทําหน้าที่รับส่งข้อมูลและสามารถแก้ไขข้อมูลที่
ผิดพลาดได้




3. Intelligent terminal เป็นการนําไมโครคอมพิวเตอร์  มาเป็นเครื่องเทอร์มินอล   มีการรับส่ง  แก้ไขข้อมูลได้  และยังสามารถประมวลผลด้วยตัวเองได้   มีขีดความสามารถสูงสุด

Voice Input  Devices

รับเสียงพูดของ  User ส่งเข้าไปใน computer    อุปกรณ์จะจดจำเสียง และแปลงเสียงพูดนั้นเป็นข้อมูล  binary   โดยอาศัยระบบรู้จำเสียง (Voice Recognition System)   ซึ่งจะเปลี่ยนเสียงพูดให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ โดยการเปรียบเทียบรูปคลื่นสัญญาณไฟฟ้าที่เปลี่ยนมาจากเสียงพูด กับรูปแบบของสัญญาณเสียงที่กําหนดไว้ ถ้าเหมือนกัน (Matching) คอมพิวเตอร์ก็จะยอมรับสัญญาณเสียงนั้น   ส่วนใหญ่แล้วเสียงที่ส่งเข้าไปนั้นจะขึ้นอยู่กับ User ว่าจะพูดอะไร  ระบบจะ เรียนรู้เสียงของ User   เอง  ประเภทของระบบเสียงมี 2 แบบ คือ ระบบคำไม่ต่อเนื่อง   จะมีการแบ่งคำของ user  และระบบคำแบบต่อเนื่อง  โดย  User สามารถพูดได้เป็นปกติ











Digital Camera

ใช้ถ่ายภาพและจัดเก็บข้อมูลบน  Chip    ภาพเก็บภาพลงในคอมพิวเตอร์  

และแก้ไขภาพด้วย software   รวมถึงเก็บภาพไว้ในสื่อ CDs  หรือ  DVDs    ภาพจะมี

ความละเอียดหลายล้าน pixels   จัดเก็บและลบทิ้งจาก memory card ได้

การทำงานของ Digital Camera   จะมีรูรับแสงเปิดออก ภาพจะถูก Focus  ผ่านเลนส์  และกระทบลงบนส่วนรับภาพที่เรียกว่า  CCD      CCD จะแปลงภาพที่ได้เป็นสัญญาณอนาล๊อก (Sign Analog)  เพื่อนำไป  ผ่าน ADC  ซึ่งจะแปลงสัญญาณกลับเป็น Digital สามารถนำเข้าคอมพิวเตอร์  เพื่อใช้งานในประโยชน์อื่น ๆ  

 

Video Input Device

จะประกอบด้วย ลำดับของเฟรม (Frames) ภาพนิ่งหลายเฟรม  มีการสลับเฟรมเพื่อแสดงผลได้อย่างรวดเร็วพอที่จะหลอกตาคนดูได้ว่าภาพที่เห็นนั้นเป็นภาพเคลื่อนไหว   ในการเปลี่ยนเฟรมหรือเคลื่อนที่ของภาพจะเร็วจนเห็นเป็นภาพต่อเนื่อง




4.2  อุปกรณ์แสดงผล (Output Device)
Output:  คือผลลัพธ์ของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง (CPU/Processor)  และนำผลลัพธ์นั้นส่งออกไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผล   ซึ่งอุปกรณ์แสดงผลมาตรฐาน  ได้แก่  Monitor  และ  Printer

Screen (monitor) 
สามารถแสดงผลข้อความ (Text)   ตัวเลข (Number)  รูปภาพ (Image)  เสียง (Sound) และ VDO  แสดงผลในรูปแบบของสีหรือขาวดำ  การแสดงผลทาง  Screen output จะเรียกว่า  soft copy  สัมผัสไม่ได้และแสดงผลชั่วคราว  จอภาพที่ใช้ทั่วไปได้แก่

Cathode ray tube (CRT)

                                แสดงผลข้อความ (Text) และกราฟิก (Graphics)   ส่วนใหญ่แสดงผลเป็นสี   ส่วนจอ  monochrome จะแสดงผลเป็นสีเดียว (ขาว-ดำ)  ใช้  Graphics card ในการแปลงสัญญาณจากหน่วยควบคุมไปเป็นภาพให้  user  มองเห็น


ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการแสดงผลของจอภาพ
1.  Scan rate :  อัตราความถี่ในการ refresh  ภาพ  ซึ่งอัตราการ Refresh บนหน้าจอ (Refresh Rate)
จะใช้หน่วยวัดเป็น Hertz (Hz) คือ รอบต่อวินาที (cycles per second)  ซึ่งโดยปกติจอภาพจะมีการ Refresh   72 Hz / วินาที
2.  Resolution  : ความละเอียดของจอภาพ  ซึ่งปกติจะใช้หน่วยวัดเป็น  pixels (จำนวนจุดในการ
เกิดภาพ)  ถ้ามีจำนวน  pixels มากก็จะมีความละเอียดในการแสดงผลสูง แต่ละ pixels บรรจุเม็ดสี 3 สี คือ แดง (Red)   เขียว (Green)   น้ำเงิน (Blue)  ซึ่งจอภาพมาตรฐานที่ใช้แสดงผลภาพกราฟิก (Graphics standards)  มี 2 แบบ ได้แก่
                        - จอภาพ VGA (Video Graphics Array)  แสดงผล 256 สี (Color)ส่วนมากจะใช้ค่า
ความละเอียดบนหน้าจอ  640*480   มีความละเอียดน้อยกว่าจอภาพแบบ SVGA
                        - จอภาพ  Super VGA  (SVGA: Super Video Graphics Array)  แสดงผล 16 ล้านสี
(Color) ส่วนมากจะใช้ค่าความละเอียดบนหน้าจอ 800 * 600 [ (horizontal) * (vertical) pixels ]  หรือ 1024*768 หรือสูงกว่า   SVGA  ดีกว่าและได้รับความนิยมมากกว่า  VGA
3.               Dot pitch :  คือจุดที่ประกอบกันเป็น Pixel  ซึ่งแต่ละ Pixel ประกอบด้วยจุด 3 จุด(three dots)
ได้แก่ (red, green, blue)  แต่ละ dot pitch มีขนาดใหญ่ไม่เกิน 28 มิลลิเมตร (millimeter)   dot pitch  จะเล็กมากและทำให้ภาพมีความคมชัด
4.               RAM-Card  memory  : หน่วยความจำ RAM สำหรับการ์ดจอ  ถ้ามี RAM-Card มาก (high-
speed)  ก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของภาพที่แสดง
                                               



ขนาดของจอภาพ (Monitor Size)
การวัดขนาดของหน้าจอนั้น จะวัดเป็นนิ้ว (Inches)  ส่วนใหญ่นิยมใช้กัน 2 ขนาดได้แก่ 15
(พื้นที่แสดงภาพ 13”) และขนาด 17” (พื้นที่แสดงภาพ 15”)  โดยวัดตามมุมทแยงของจอ   จอภาพที่มีขนาดใหญ่ ราคาก็จะสูงตามไปด้วย  และความละเอียดบนหน้าจอขนาด 17  มักเซตค่าความละเอียด  ตั้งแต่ 640*480  ถึง  1280*1024

Flat-panel screens

                                Liquid crystal display (LCD)  ใช้ครั้งแรกกับเครื่องคอมพิวเตอร์  Laptops  ต่อมานำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop computers)    มีขนาดบางมาก (หนาประมาณ 1 นิ้วกว่าเท่านั้น)   ทำให้เกิดความคมกริดของภาพ (Images)  และข้อความ (Text)  มากกว่าจอ  CRTs  มองภาพได้สบายตากว่าจอ CRTs  


Smart displays

                                  ใช้หลักการพื้นฐานของ  Flat-panel technology  โดยมี processor  ของตนเองใช้ Wireless เป็นตัวรับ-ส่ง สัญญาณ  โดยที่จอภาพอัจฉริยะ (Smart Displays) เป็นจอคอมพิวเตอร์พกพาที่เชื่อมต่อกับพีซีได้โดยไม่ต้องใช้สาย สามารถเข้าถึงอีเมล์ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ได้จากทุกที่ในบ้าน จุดที่น่าสนใจคือ สามารถใช้คุณสมบัติพีซีได้อย่างครบถ้วน โดยไม่ต้องอาศัยสาย แต่คำเตือน คือ ไม่ควรอยู่ห่างจากคอมพิวเตอร์มากนัก เนื่องจากจะขาดการติดต่อกับพีซีได้ง่าย ปัจจุบันมีให้เลือกไม่กี่รุ่น และราคาก็ยังแพงอยู่ เริ่มต้นที่ 42,957 บาท และอาจสูงถึง 64,457 บาท ในบางรุ่น ซึ่งด้วยจำนวนเงินดังกล่าว สามารถซื้อแล็บท็อประดับดีเยี่ยมได้หนึ่งเครื่อง ขณะที่นักวิเคราะห์บางราย คาดการณ์ว่า ราคาจะลดลงครึ่งหนึ่งในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า พร้อมกับมีการปรับปรุงลักษณะของภาพบนจอให้ดียิ่งขึ้น  (http://www.nectec.or.th/bid/hotissue_5equip.htm)


Printer
ใช้เมื่อต้องการแสดงผลในรูปของกระดาษ งานที่ Print ออกมาทางกระดาษจะเรียกว่า  “hard copy”  และสามารถกำหนดแนวของกระดาษได้ 2 แนวคือ  กระดาษแนวตั้ง (Portrait)  และกระดาษแนวนอน (Landscape)

 

สามารถจำแนกเครื่อง printer มี 2 ประเภท ได้แก่

1. Impact printer

2. None-impact printer


Impact Printers

                สร้างภาพออกทางกระดาษ  โดยมีการกระทบหัวเข็มหรือสัมผัสลงบนกระดาษ  มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Mainframe Computers ที่มีการ Print  รายงานที่มีความยาวมาก ๆ โดยใช้กระดาษต่อเนื่อง  หรือใช้กับการ Print กระดาษต่อเนื่องที่ต้องการหลาย ๆ Copy   เครื่อง printer ที่จัดอยู่ในประเภทของ Impact Printer ได้แก่  Dot-matrix printer


Dot-matrix printer

ใช้การกระทบของหัวเข็ม  ตัวอักษรและภาพเกิดจากการ plot จุดเกิดเป็น

เส้น (line)  ให้เห็นเป็นภาพ





การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Dot Matrix (Dot Matrix Printers – Performance)
1.               ความละเอียด (Resolution) : เครื่องพิมพ์ Dot Matrix  มีคุณภาพและความละเอียดในงานพิมพ์ต่ำกว่า
เครื่องชนิดอื่น  ซึ่งในอดีต Dot Matrix  จะมีหัวเข็ม (pin)  9 หัวเข็ม  เนื่องจากหัวเข็มที่น้อย และพิมพ์งานตามลำดับ ทำให้มีความเร็วและความละเอียดต่ำ   แต่ถ้าเป็น Dot Matrix  ที่มี 24 หัวเข็ม จะมีคุณภาพและความละเอียดดีกว่า
2.               ความเร็ว (Speed) : วัดความเร็วเป็นตัวอักษรต่อวินาที (characters per second :cps) ซึ่งโดยปกติจะมี
ความเร็วอยู่ที  500 cps

None-impact Printers

เป็นเครื่องพิมพ์ที่ Print ภาพออกทางกระดาษโดยไม่ใช้การกระทบของหัวเข็ม   เครื่อง Print ที่รู้จักกันดีคือ  Laser printer และ Ink-jet printer

 

Ink-jet printer

ทำงานโดยใช้การพ่นหมึกลงบนกระดาษ    สามารถ  Print  ได้ทั้งภาพขาว-ดำ

และสีมีคุณภาพสูงและหมึกไม่เลอะ  ราคาเครื่องถูกว่า laser printers  แต่ความคมชัดหรือประณีตของตัวอักษรก็ด้อยกว่า Laser  printer

 
การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Ink Jet (Ink Jet Printers – Performance)
1.               ความเร็ว (Speed) : ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่อง Ink jet จะวัดเป็นหน้าต่อนาที
(pages per minute : ppm) 2 – 4  ppm
2.               ความละเอียด (Resolution) : ความละเอียดในการพิมพ์จะวัดเป็นจุดต่อนิ้ว (dots per inch :dpi)
โดยปกติจะอยู่ที่  300 – 600 dpi ซึ่งถือว่าคุณภาพต่ำกว่าเครื่อง Laser printer
3.               ความสามารถในการพิมพ์สี (Color) : สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ
4.               ราคาของตัวเครื่อง (Price) : ถ้าเปรียบเทียบด้านราคาแล้วจะมีราคาถูกกว่าเครื่อง Laser  printer รวมถึง
ค่าใช้จ่ายในการใช้งานถูกกว่าด้วย (low operating costs)

Laser printer

เป็นเครื่อง Print  ที่ไม่มีการสัมผัสลงบนกระดาษ  การทำงานนั้นจะใช้การยิงลำแสงส่งผ่านภาพไปยัง กระดาษ  มีความเร็วและประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่อง ink-jet printer


การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Laser (Laser Printers – Performance)
1.               ความละเอียด (Resolutions) : เครื่อง Laser มีความละเอียดในการพิมพ์ ตั้งแต่  300 – 1200 dpi  
หรือสูงกว่า
2.               ความสามารถในการพิมพ์สี (Color) : สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ(Black-and-white) แต่ Laser ที่พิมพ์
สีได้นั้นราคาเครื่องจะสูงกว่า Laser ทั่วไป และสามารถพิมพ์สีได้ระหว่าง 4 – 16 ppm (Pages per minute)
3.               คุณภาพในการพิมพ์ (quality )  : เครื่อง Laser มีคุณภาพในงานพิมพ์สูงกว่าเครื่อง ink jet printers
แต่ราคาสูงกว่าด้วยทั้งในด้านตัวเครื่องและค่าใช้จ่ายในการใช้งาน

Hand held printer
เป็นเครื่อง Print แบบพกพาได้  ส่วนมากใช้กับการ Print รูปขนาดเล็ก หมึกที่ใช้จะถูกออกแบบมาพิเศษ มีความสามารถในการทนน้ำได้ ตลับหมึกมีการแยกสีเฉพาะ

ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ตามมากับการใช้งาน Printer
นอกจากจะมีค่าใช้จ่ายในการซื้อตัวเครื่อง Printer แล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นที่ตามมา เมื่อมีการนำ Printer เข้ามาใช้งาน  ดังนี้
1.  ค่าหมึกพิมพ์    สามารถเลือกใช้ผงหมึกแบบเติม  โดยจะมีหลายประเภทให้เลือก   ซึ่งปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตก็ได้มีการพัฒนาคุณภาพและความสะดวกในการใช้ง่าย  ให้เติมหมึกได้ง่ายกว่าในอดีต  โดยไม่ต้องแกะตลับหมึก   มีลักษณะแบบเป็นขวดพลาสติก  และหัวบีบลงในช่อง Toner ได้เลย ทำให้ผงหมึกไม่ฟุ้งกระจาย  ไม่เกิดผลเสียกับเครื่อง ปลอดภัยต่อสุขภาพ  มีฝากรวยสำหรับเติม  หรือสามารถเลือกเปลี่ยนตลับหมึกได้เลย




หมึกเติม Ink-jet Printer

หมึกเติม Laser Printer

2. ค่าอะไหล่และค่าซ่อมเมื่ออุปกรณ์บางชิ้นส่วนของตัวเครื่อง Printer ชำรุด

                นอกจากอุปกรณ์  Output มาตรฐานสองรายการข้างต้นนี้แล้ว  ยังมีอุปกรณ์อื่นอีกที่ user ใช้แสดงผลลัพธ์ของข้อมูล   เช่น  อุปกรณ์ในการแสดงเสียง (Voice) และ  Music

 

Voice Output Device

อุปกรณ์แสดงผลเสียง(Voice Output Device)   จะใช้ตัวสังเคราะห์เสียง  (Voice

synthesizers)  เป็นตัวแปลงข้อมูลให้เป็นเสียง


Music Output Device

เป็นอุปกรณ์ในการแสดงผลสื่อ  Multimedia    เกม (games)  และ VDO  ซึ่งแสดงข้อมูลทั้งภาพและเสียง

โดยอาศัยลำโพงเป็นอุปกรณ์แสดงผลเสียง และหน้าจอคอมพิวเตอร์ในการแสดงผลภาพ

 

ระบบเสียง (Sound Systems)
                              เครื่อง PC  ที่ต้องการใช้งานร่วมกับสื่อ Multimedia  จำเป็นต้องมีการ์ดแปลงสัญญาณเสียง (sound card)  ลำโพง (speakers) รวมถึง CD-ROM และ DVD drive  เพื่ออ่านข้อมูลออกจากแผ่น CD และ DVD
sound card  จะทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) ให้กลายเป็นสัญญาณอนาล๊อก (analog) ซึ่งก็คือสัญญาณคลื่นเสียงนั่นเองแล้วก็แสดงผลออกทางลำโพง   นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ software  ช่วยในการแก้ไข ดัดแปลง สร้างหรือแต่งเสียงเพลงต่าง ๆ  ได้ตามต้องการ









สรุปความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอุปกรณ์
Central Processing Unit(CPU)
CPU เป็นอุปกรณ์ ที่เปรียบเสมือนสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ ในการประมวลผลคำสั่ง ที่เราป้อนเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ CPU ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่ด้วยกันมากมาย จากหลายผู้ผลิต และหลายรุ่น ที่รู้จักกันดีก็จะเป็น CPU จากค่าย Intel ซึ่งผลิต CPU มาตั้งแต่รุ่น 4040, 4044, 8080, 8088, 80286, 80386, 80486, Pentium, Pentium Pro,... Pentium II, Pentium II Xeon, Celeron, Pentium III, Pentium III Xeon Celeron II, Pentium IV และล่าสุดกับ Pentium Duo ซึ่งปัจจุบันความเร็วของ CPU สูงถึง 1.5 GHz (1500 MHz) นอกจาก CPU จากทางด้าน Intel แล้วยัง มีจากผู้ผลิตรายอื่นอีกเช่น AMD (Advance Micro Device) จัดเป็นผู้ผลิต CPU รายใหญ่อันดับสอง CPU ที่เด่นใน ช่วงนี้ของ AMD คือ Duron และ Thunderbird ซึ่งเป็น CPU ราคาถูกและ มีประสิทธิภาพสูง และยังมีผู้ผลิตอย่าง Via (Cyrix) ซึ่งผลิต CPU ตระกูล MI, MII, MIII จัดเป็น CPU ระดับต่ำราคาถูก
Harddrive
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้บันทึกข้อมูลหรือ Software ที่เราต้องการเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์  Harddrive(Harddisk) ปัจจุบันมี มาตรฐานการเชื่อมต่อหลัก ๆ อยู่ 2 แบบ คือ ATA(IDE) และ SISC (สกัสซี่) ซึ่งปัจจุบัน SISC อยู่ที่ ความเร็ว 160 MB/Sec ส่วน ATA อยู่ที่ 100 MB/Sec ทั้งสองมาตรฐานต้องต่อกับ อุปกรณ์เฉพาะที่ออกแบบมากับ แต่ละแบบ ไม่สามารถนำมาต่อเข้าด้วยกันได้ ยกเว้นจะมีตัวควบคุม (Controller) แยกต่างหาก
Mother Board
เป็นแผงวงจรหลักที่อุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด จะเชื่อมต่อหรือติดตั้งบน Mother Board (Main Board)  นี้ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น CPU, Harddrive, VGA Card เป็นต้น บน Mother  Board  จะประกอบไปด้วย ChipSet 2 ตัว คือ North Bridge และ South Bridge ซึ่ง North Bridge จะทำหน้าที่ควบคุมส่วนที่ติดต่อกับ CPU เช่น Memory   ส่วน South Bridge จะทำหน้าที่ควบคุมส่วนที่ติดต่อกับอุปกรณ์ I/O (Input and Output) และบน Mother Board ยังประกอบไปด้วย Expension Slot ซึ่งใช้เสียบ Card ต่าง ๆ เช่น VGA Card ซึ่ง Expension Slot มีด้วยกันหลายแบบ ที่พบเห็นกันอยู่ได้แก่ 1)ISA Slot ซึ่งจะเป็น Slot สีดำมีทั้งแบบ 8 bit และ 16 bit 2) EISA Slot (Vesa Local Bus) จะเป็น Slot สีดำ แบบ ISA และมีช่องสีน้ำตาลเพิ่มเข้ามา เป็นSlot 32 bit 3) PCI Slot จะเป็น Slot สีขาว มีทั้งแบบ 32 bit และ 64 bit ปัจจุบันเป็น Slot ที่ใช้มากที่สุด
Main Memory
เป็นหน่วยความจำหลักของระบบ ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูล หรือ โปรแกรมชุดคำสั่งที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้ในการประมวลผล Main Memory (RAM) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีด้วยกัน หลายประเภท ได้แก่
1) SIMM RAM (40 pin และ 72 pin) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า FastPage และยังมี EDO RAM ซึ่งเพิ่มขีดความสามารถในการ เข้าถึงข้อมูลให้เร็วขึ้น
2) DIMM RAM หรือที่เรียกกันว่า SDRAM เป็นRAM แบบ 168 pin มีตั้งแต่รองรับ Bus 66,100,133 (PC 66, PC 100, PC 133) เป็น RAM ที่ใช้กัน อยู่ในปัจจุบัน
3) RIMM RAM หรือที่รู้จักในชื่อ Direct RAM BUS หรือ RDRAM เป็น RAM ที่ใช้กับ Mother Board ที่ใช้ ChipSet Intel คือ 820i, 840i, และ 850i ใช้กับ Pentium III และ Pentium IV
4) DDR  SDRAM เป็น RAM ที่ขยายเพิ่มขีดความสามารถให้กับ SDRAM เดิมให้ทำงานได้ที่ความเร็ว 2 เท่า
5)VCRAM หรือ Virtual RAM เป็น RAM ที่ไม่ค่อยพบเห็นในบ้านเรา ผลิตโดย บริษัท NEC

Display Card
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณภาพ  เพื่อแสดงผลภาพออกทางจอภาพ ซึ่งปัจจุบันจะ สนับสนุนการทำงานทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ และจะเน้นหนักไปที่การเล่น เกมเป็นหลัก บริษัทผู้ผลิตการ์ดแสดงผล ที่รู้จักกันดีได้แก่ Matrox, Ati, Nvidia, 3DLab และปัจจุบันการ์ดแสดงผลจะมีบทบาทมาก เนื่องจากว่ามีการนำงานการคำนวณที่เกี่ยวกับการแสดงภาพมาคำนวณ ที่การ์ดแสดงผลแทนที่จะต้องคำนวณด้วย CPU จึงมีการเรียก Card ที่ทำงานในลักษณะนี้ว่า GPU (Graphic Processing Unit) ในการ์ดแสดงผลบางรุ่นยังมีช่องต่อ TV IN/OUT และ ช่องต่อ Panel Monitor (LCD Monitor) ด้วย บางรุ่นสนับ สนุนการใช้ แว่นตา 3 มิติ เพื่ออรรถรสในการเล่นเกมส์
Sound Card

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แปลงสัญญาณเสียง ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ในเครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่ต้องการทำเป็น Home Theater Sound Card ในปัจจุบันจะสนับสนุนการต่อลำโพง 4 ตัว   Card บางตัวยังมีตัวถอด รหัส Dolby Digital ซึ่งเป็นมาตรฐานของระบบเสียงรอบทิศทางที่ใช้ในภาพยนตร์ และยังสนับสนุนการสร้างเสียง 3 มิติ เพื่อสร้างความ สมจริงในการเล่น เกมส์อีกด้วย เมื่อก่อน Sound Card จะติดตั้งบน ISA Slot แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้ PCI Slot ซึ่งทำให้ทำงาน ได้เร็วขึ้น และใช้การทำงานของ CPU น้อยลง เพิ่ม Function การทำงานได้มากขึ้น อีกทั้งยังมีราคาที่ถูกลงมากด้วย
CD-rom Drive
ปัจจุบัน CDROM DRIVE เป็นอุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ต้องมีเนื่องจากปัจจุบัน Software มีขนาดใหญ่มากไม่สามารถบรรจุ ลงบนแผ่น Floppy Disk ได้อีกต่อไป เทคโนลียีของ CDROM มีอยู่ 2 แบบ คือการหมุนด้วยความเร็วคงที่ และการหมุนด้วยความเร็ว ไม่คงที่ ซึ่งแบบแรกจะทำให้ออกแบบ CDROM ได้ง่ายแต่ความเร็ว ในการเข้าถึงข้อมูลจะไม่คงที่ดังนั้น CDROM ที่ ใช้ระบบนี้จะระบุค่า ความเร็วที่ความเร็วสูงสุดที่ทำได้แทนความเร็ว เฉลี่ยจริงเช่น 50Xmax เป็นต้น ส่วนแบบหลังจะให้ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลแบบคงที่ตลอด   แต่การออกแบบ CDROM ทำได้ยากกว่าทำให้ ไม่เป็นที่นิยมในการออกแบบ และในปัจจุบันนี้บริษัท Kenwood ได้ทำการเสนอเทคโนโลยี TrueX ซึ่งใช้แสง Laser 7 เส้น ในการอ่านข้อมูลจากแผ่น CDROM ทำให้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลดีขึ้นจนความเร็วสูงสุดกับความเร็วเฉลี่ยใกล้เคียงกัน และประกอบกับในปัจจุบัน นี้ DVDROM DRIVE ได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากการที่สามารถเก็บข้อมูลปริมาณมาก ๆ ได้โดยสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า แผ่น CDROM ประมาณ 12 เท่า อีกทั้งราคาที่ถูกลงอย่างมากทำให้เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่น่าสนใจ และ CD-RW ซึ่งเป็นเครื่องเขียน CDROM ก็มีราคาที่ถูกลงอย่างมากด้วย คาดว่าอีกไม่นาน DVDROM DRIVE และ CD-RW DRIVE จะเข้ามาแทนที่ CDROM DRIVE
Case
Case เป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวถังของเครื่องคอมพิวเตอร์มีผู้ผลิตหลายรายได้ทำการผลิตคิดค้นรูปร่างของ Case ใหม่ ให้มีสีสันสวยงาม หรือ ออกแบบมาให้เหมาะกับการใช้งานบางประเภท เช่น Case สำหรับ เครื่อง Server Case ในท้องตลาดปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ Case โลหะ และ Case พลาสติก โดยแบบหลังจะมีราคาที่แพงกว่า เพราะมีการป้องกันไฟฟ้ารั่ว และ Case ก็จะออกแบบมาให้เหมาะสมกับชนิดของ Mother Board แต่ละประเภทด้วย เช่น Baby AT, ATX, Flex ATX, Micro ATX เป็นต้น
CPU Fan
พัดลม CPU นับเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ต้องเลือกให้ดีเพราะเนื่องจากว่า CPU มีความร้อนสูงการเลือกพัดลมที่ไม่เหมาะกับการ CPU อาจเกิดความเสียหายต่อ CPU หรือทำให้ระบบคอมฯไม่มีเสถียรภาพได้   ปัจจุบันพัดลม CPU ได้ถูกออกแบบมาเฉพาะกับ CPU แต่ละรุ่น ซึ่งจะมีรูปร่าง และวัสดุที่ใช้ทำต่างกัน มีการนำทองแดงมาใช้เป็นวัสดุแทนอลูมิเนียม   เพื่อช่วยระบายความร้อน ใส่พัดลมที่มีกำลังแรงและมีขนาดใหญ่มีการออกแบบครีบให้มากเพื่อช่วยระบายความร้อน
Monitor
Monitor  เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบน จอภาพ ซึ่งเทคโนโลยีจอภาพในปัจจุบันคงจะเป็น จอภาพแบบ Trinitron และ Flat Screen(จอแบน) ไม่ว่าจะเป็น CRT(monitor ทั่วไป) หรือ LCD (จอที่มีลักษณะแบนเรียบทั้งตัวเครื่อง) จอแบนจะมีประสิทธิภาพในการแสดงผลมากกว่าจอปกติ เพราะสามารถลดแสดงสะท้อนได้ดีกว่าทำให้ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า และปวดตาเมื่อต้องทำงานนาน ๆ แต่ราคาของจอแบนยังมีราคาสูงกว่าจอปกติพอสมควร    ทำให้ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่ในอนาคตอันใกล้จอแบนคงจะมีราคาที่ถูกกว่านี้ และเป็นมาตรฐานของจอภาพคอมพิวเตอร์ในอนาคต
Mouse
Mouse จัดเป็น Input Device ประเภทหนึ่งซึ่งข้อมูลที่ป้อนเข้าไปคือตำแหน่งที่มีการ Click  ซึ่ง Mouse มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท  ได้แก่
1)Mouse แบบปกต   ที่พบเห็นทั่วไปอาจจะมี 2 ปุ่ม หรือ 3 ปุ่ม
2) Mouse แบบไร้สาย (WireLess) ซึ่งจะใช้ สัญญาณวิทยุโดย Mouse เป็นตัวส่งสัญญาณและมีตัวรับสัญญานที่ต่อกับเครื่องคอม
3) Mouse แสง (Optical Mouse) เป็น Mouse ที่ไม่มีลูกกลิ้งที่ฐาน Mouse ใช้การอ่านค่าจากการสะท้อนของแสงที่สัมผัสกับพื้นผิว
4) Scroll Mouse เป็น Mouse ที่มี Scroll ไว้เพื่อใช้เลื่อน
Keyboard
keyboard เป็นอีกหนึ่ง Input Device ที่รับข้อมูลเข้าโดยการ ป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์ ในอดีต keyboard จะมี key อยู่ 101-102 key แต่ปัจจุบันได้มีการเพิ่ม Function เข้าไปเป็นจำนวนมากทำให้มี key เพิ่มขึ้นมาเป็นจำนวนมาก การออกแบบ keyboard ได้มีการพยายามออกแบบให้ใช้งานง่ายตรงกับลักษณะการพิมพ์ของคนเพื่อทำให้ไม่รู้สึกเมื่อยล้าเวลาพิมพ์ และยังมีการพัฒนาให้เป็น แบบไร้สายเช่นเดียวกับ Mouse มีการเพิ่ม function Multimedia เข้าไปเช่น เพิ่ม Volume ของเสียง เปิดเพลงเป็นต้น
Floppy Drive
Floppy Drive เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านและเขียนแผ่น Floppy Disk ซึ่งมีความจุต่าง ๆ กันเช่น  360KB, 720KB, 1.2MB, 1.44MB, 2.88 MB ซึ่งมีขนาด 3.5" และ 5.25" นอกจาก Floppy Drive แล้วยังมี อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชั่วคราวอื่น ๆ เช่น Zip Drive, Jazz Drive, SuperDrive และล่าสุดกับ Trump Drive ซึ่งสามารถนำไปต่อกับ Port USB เพื่อทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ทันที
CAM
เป็นอุปกรณ์ Input Device ที่รับข้อมูลเป็นภาพเข้าไปผ่านอุปกรณ์ตัวนี้ ซึ่งมีประโยชน์ในการใช้ในการประชุมผ่าน Internet หรือการพูดคุยผ่าน Internet โดยเห็นหน้าผู้สนทนากับเราด้วย ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริม แล้วแต่ความจำเป็นของผู้ใช้
Scanner
Scanner เป็น Input Device ที่รับข้อมูลโดยการ Scan ภาพหรือ เอกสาร ซึ่งปัจจุบันมีการนำ  Function ในการส่งเอกสารเพิ่มเข้าไปใน Scanner ซึ่งสามารถส่งภาพที่ Scan โดยกดปุ่มที่ Scanner แทนที่จะต้องไปแนบภาพ  (Attach)  กับ e-mail แล้วค่อยส่ง คุณสมบัติของ Scanner จะวัดที่ค่า Resolution ว่ามีความละเอียดเท่าไร แสดงได้กี่สี และความเร็วในการ Scan
Printer
Printer เป็นอุปกรณ์ Output Device ซึ่งทำหน้าที่พิมพ์เอกสารหรือรูปภาพที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ ปัจจุบันมี Printer อยู่ 3 แบบ คือ
Dotmatrix Printer ซึ่งเป็นแบบหัวกระแทกผ้าหมึกเกิดเป็นตัวอักษรหรือภาพ เหมาะกับงานพิมพ์เอกสารที่ไม่เน้นความปราณีต
Inkjet Printer เป็นแบบพ่นน้ำหมึกลงไปบนกระดาษซึ่งงานพิมพ์ที่ออกมาจะมีความละเอียดและสวยงามกว่า Dotmatrix Printer แต่ค่าหมึกพิมพ์จะมีราคาแพงจึงเหมาะกับงานที่ต้องการความเร็วและพิมพ์รูปภาพ มากกว่าการพิมพ์เอกสารจำนวนมาก ๆ
Laser Printer เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีความเร็วสูงที่สุดและมีราคาแพงที่สุดมีความละเอียดสูงแต่ค่าหมึกพิมพ์จะมีราคาแพง   เหมาะกับงานทุกประเภทที่ต้องการความรวดเร็วในการพิมพ์และเน้นความปราณีต
Speaker
ลำโพงนับเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน เทคโนโลยีของลำโพงในปัจจุบันเริ่มมีการสนับสนุนการทำ งานแบบรอบทิศทาง   โดยมีตั้งแต่ลำโพงแบบ 2 ลำโพง, 2 ลำโพง + 1 Subwoofer, 4 ลำโพง, 4 ลำโพง + 1 Subwoofer, 5 ลำโพง และ 6 ลำโพง คือ หน้า(Front)(ซ้าย + ขวา), กลาง(Center), หลัง(Rear)(ซ้าย + ขวา), Subwoofer และบางรุ่นมีตัวถอดรหัส สัญญาณเสียง Digital ด้วย มีช่องต่อ S/P DIF  เพื่อรองรับการ์ดเสียงที่มีช่องต่อ S/P DIF Output เพื่อเพิ่มคุณภาพของเสียงให้ดียิ่งขี้น
Power Supply
Power Supply เป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันมี Power Supply อยู่ 3 แบบ คือ แบบ AT, ATX, และ Power Supply ที่ออกแบบให้ใช้กับ Mother Board สำหรับ Pentium IV แต่ละแบบจะมีกำลังที่ต่างกัน ตั้งแต่ 200 Watt ขึ้นไป ปัจจุบันกำลังไฟที่ใช้จะอยู่ประมาณ 300 Watt
Modem
Modem เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณ Analog ไปเป็นสัญญาณ Digital และ จาก Digital ไปเป็นสัญญาณ Analog ซึ่งในคอมพิวเตอร์นั้นจะมีลักษณะสัญญาณเป็นแบบ Digital ดังนั้นจึงต้องใช้ Modem ในการแปลงสัญญาณเพื่อที่จะสามารถส่งสัญญาณไปบนสายโทรศัพท์ธรรมดาได้ วัตถุประสงค์ของ Modem คือใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระยะทางไกล ๆ ซึ่งที่พบเห็น   คือการเชื่อมต่อ Internet จากบ้านไปยังผู้ให้บริการ Internet (ISP : Internet Service Provider) ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี ADSL ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อด้วยสัญญาณ Digital โดยต้องใช้ กับ Digital Modem หรือ ADSL Modem ซึ่งจะมีความเร็วในการเชื่อมต่อ ตั้งแต่ 128 Kbit/Sec ขึ้นไป ซึ่ง Modem แบบ Analog ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีความเร็วสูงสุดที่ 56 Kbit/Sec และ Modem ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบบติดตั้งภายใน (Internal Modem) ซึ่งจะเสียบบน ISA Slot หรือ PCI Slot ภายในเครื่อง ราคาถูก อีกแบบ คือแบบติดตั้งภายนอกซึ่งที่พบเห็นบ่อย จะมี 2 แบบ คือต่อผ่าน Serial Port (COM Port) และ แบบต่อ ผ่าน USB Port (Universal Serial Bus) ซึ่งมีราคาที่แพงกว่า แบบติดตั้งภายในแต่สะดวกในการเคลื่อนย้าย และไม่สร้างปัญหาเรื่อง ความร้อนให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
Network Card
Network Card หรือบางครั้งเรียกว่า LAN Card เป็นการ์ดที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย โดยการนำคอมพิวเตอร์มาต่อเชื่อมกันผ่าน LAN Card ซึ่งบางครั้งอาจต้องมีอุปกรณ์อื่นเสริม เช่น HUB, Switching, Rounter เป็นต้น ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ความเร็วจะมีตั้งแต่ 10 Mbit/sec จนถึงระดับ Gbit/bit ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ (Ethearnet, ATM, ISDN) และระบบเครือข่ายที่ใช้ว่าเป็นแบบ (Bus, Star, Ring) เป็นต้น
(http://www.arc.dusit.ac.th/be/index.php?main=006)