วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

http:wownamsiri040.blogspot.com

                                   บทที่  3  การประมวลผลข้อมูล

ตอนที่  1  อธิบาย  (หมายถึง  การให้รายละเอียดเพิ่มเติม  ขยายความ  ถ้ามีตัวอย่างให้ยกตัวอย่างประกอบ)  ตอบแบบสั้น


1.  ข้อมูลปฐมภูมิและข้อทุติยภูมิต่างกันอย่างไร
ตอบ.  ข้อมูลปฐมภูมิ  คือ  ข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งกำเนิดข้อมูลโดยตรง  เป้นการค้นหาขัอมูลโดยตนเอง  จากการสัมภาษณ์  สอบถาม    สอบถาม  เช่นการสำรวจประชากร
          ส่วนข้อมูลทุติยภูมิ  คือ  ข้อมูลที่มีผู้เก้บรวมรวมไว้แล้วสามารถนำมาใช้งานได้ทันที

2.  อธิบายความหมายของ   "เขตข้อมูล"   ( Field  )
ตอบ.  ประกอบด้วย  ชุดของอักขระที่สัมพันธ์กัน  เช่น  ในการจัดทำป้ายจ่าหน้าซองจดหมายถึงสมาชิกของศูนย์  ข้อมูลแต่ละบุคคล  อาจจะประกอบด้วยเขตข้อมูลหมายเลขสมาชิก เขตข้อมูลที่อยู่  เขตจังหวัด  เป็นต้น

3.  วิธีจัดการแฟ้มข้อมูลแบบใดเข้าถึงข้อมูลได้เร็วที่สุด  เพราะเหตุใดและมีประโยชน์อย่างไร  ยกตัวอย่าง
ตอบ.  แบบเรียงลำดับ  เพราะเป้นการจัดเก็บข้อมูลแบบเรียงลำดับทุก  ๆ  ระเบียบ  เพื่อให้หน่วยงานที่มีข้อมูลจำนวนมากและเป้นครั้งเป็นคราว  เพื่อให้การประมวลผผลเข้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เช่น  การปรับปรุงเงินเดือนพนักงาน  โดยใช้หมายเลขประกันสังคมเป็นคีย์หลัก


ตอนที่  3  อธิบายศัพท์
1.  System  Analyst
     มีหน้าที่วิเคราะห์  ออกแบบ และนำสารสนเทศบนคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานมาใช้งาน


2.  MIS
     บุคคลากร  เกี่ยวกับตำแหน่ง  บทบาท  และความรับผิดชอบที่สำคัญของบุคลากร


3.  DSS
         ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  เป็นความก้าวหน้าของระบบการรายงานสารสนเทศ


4.  EIS
        ระบบสารุสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง  เป็นระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ถูกนำมาใช้เพื่อให้ได้สารสาเทศสำหรับการวางแผน


5.ES
      ระบบผู้เชี่ยวชาญ  เป็นส่วนหรึ่งในการค้นคว้าระบบ   "ปัญญาประดิษฐ์"


6.Knowledge  Base
          ฐานความรู็  เป็นศูนย์กลางของระบบผู้เชี่ยวชาญ


7.User  INterface
         ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้  คือ  เครืองหมายหรือสัญลักษณ์บนจอภาพ


8.Inference  Engine  
            เครื่องอนุมาน  คือ  ระบบของโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างระบบผู้เชี่ยวชาญ


9.  Data  Structured
           โครสร้างข้อมูล  การประมวลผลข้อมูลในคอมพิวเตอร์


10.  Semi  Structured  
             ข้อมูลความรู้จะเป็นลักษณะแบบกึ่งโครงสร้าง






                                               บทที่  4    การวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
ตอนที่  1  อธิบาย  (หมายถึง  การให้รายละเอียดเพิ่มเติม  ขยายความ  ถ้ามีตัวอย่างให้ยกตัวอย่างประกอบ)  ตอบแบบสั้น

1.  อธิบายความหมายของ  "การวิเคราะห์ระบบ"
ตอบ.  คือ  กระบวนการเกี่ยวกับการศึกษาระบบที่มีอยู่แล้ว  เพื่อกำหนดวิธีการทำงานและวิธีการทำงานและวิธีที่ผู้ใช้ต้องการ  การวิเคราะห์ระบบเป็นการวางแผลงาน  การทำงานเพื่อปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น  การสำรวจ  การสร้งความสัมพันธ์


2.วงจรการพัฒนาระบบมีกี่ขั้นตอน  อะไรบ้าง
ตอบ.  มี  5  ขั้นตอน  ดังนี้
          1.  ขั้นเตรียมการ สำรวจ  กำหนดปัญหา
          2.  การวิเคราหะห์  ทำความเข้าใจกับระบบเดิม
          3.  การออกแบบ  การวางแผนออกแบบระบบใหม่
          4.  การพัมนา  การทำงานเพื่อให้ได้ระบบงานใหม่ตามที่ออกแบบไว้
          5.  การนำไปใช้  การเปลี่ยนแปลงให้ใ้ช้ระบบใหม่


3.แผนภาพกระแสข้อมูลมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ.  มีประโยชน์สำหรับการอธิบายกระบวนการทำงานและไหลเวียนข้อมูล  ช่วยในการสื่อสารระหว่างนักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้ระบบ


ตอนที่  3    อธิบายสัญลักษณ์ในการเขียนผังงานต่อไปนี้
1.    การประมวลผลข้อมูล  การกำหนดค่า  การโยกย้ายข้อมูล
2.  หน่วยรับหรือแสดงข้อมูล  โดยไม่ระบุอุปกรณ์
3.  แสดงจุดเริ่มต้นหรือสิ้นสุดของโปรแกรม
4.  แสดงผลจอทางจอภาพ
5.  แสดงผลทางเครื่องพิมพ์
6.  กำหนดเงื่อนไข  ทางเลือก  การเปรียบเทียบ
7.  โปรแกรมย่อย  หรือโมดูล
8.  การเตรียมทำงานลำดับต่อไป
9.  จุดเชื่อมต่อผังงานในหน้าเดียวกัน
10.  จุดเชื่อมต่อผังงานที่อยู่หน้าต่างกัน




วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

http://wownamsiri040.blogspot.com

  1.    วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์
    จอภาพเป็นอุปกรณ์ต่อเชื่อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่แสดงผลลัพธ์ ชั่วคราว เพื่อเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ สามารถสื่อสารเข้าใจตรงกันได้ ซึ่งจะมีอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อีกตัวหนึ่งทำงานควบคู่กับจอภาพ นั่นคือ การ์ดสำหรับแสดงผลจอภาพ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
    ซึ่งจอภาพมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงในด้านเทคโนโลยีที่แตกต่างกันออกไป เทคโนโลยีบางอย่างกำลังจะเข้ามาแทนที่ ในขณะที่เทคโนโลยีบางอย่างกำลังจะถูกกลืนแล้วก็หายไป (Technology Life Cycle) มีอะไรบ้างในช่วงของ Life Cycle จอภาพที่มีการเปลี่ยนแปลง

    CRT (Cathode Ray Tubes)
    เทคโนโลยีของจอแสดงผล (Display Technology) อดีตในปี ค.ศ. 1897 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน Kari Ferdinand Braun เป็นผู้ประดิษฐ์หลอดรังสีคาโธด หรือ CRT และในปี ค.ศ. 1908 Campbell Swinton ได้เสนอให้ใช้หลอด CRT สำหรับการแสดงผลภาพ ต่อมาในปี ค.ศ. 1936 ได้มีการเริ่มนำ CRT มาทำจอภาพโทรทัศน์เป็นครั้งแรก โดยใช้การสแกนแนวนอน 343 เส้น และสามารถผลิตภาพได้ 30 ภาพต่อวินาที ซึ่งเพียงพอในการหลอกสายตามนุษย์ให้เป็นเป็นภาพต่อเนื่องได้โดยไม่กระตุก โดยหลักการของ CRT ซึ่งเป็นหลอดสูญญากาศนั้นทำงานโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนผ่านสนามแม่เหล็ก ซึ่งใช้ควบคุมทิศทางของลำแสงอิเล็กตรอนให้สามารถไปทางซ้าย-ขวา ขึ้นบน-ลงล่าง โดยการควบคุมผ่านวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเมื่อยิงอิเล็กตรอนออกไปกระทบกับสารที่เคลือบด้านในของจอภาพ ซึ่งมีสารฟอสเฟสฉาบอยู่บนหลอดภาพ และเมื่อสารฟอสเฟสโดนแสงก็จะถูกกระตุ้นให้เปล่งแสงออกมา จุดไหนที่โดนแสงจะถูกกระตุ้นให้เปล่งแสงออกเป็นจุดๆ ซึ่งจุดนี้ก็คือจุดที่แสดงภาพขึ้นมาบนหน้าจอ จุดนี้มีชื่อเรียกว่า พิกเซล (Pixel)
    54184

    จอภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มีหลักการแบบเดียวกับจอโทรทัศน์ เทคโนโลยีของ CRT เป็นที่นิยมในเทคโนโลยีแสดงผลที่มีอายุเกินร้อยกว่าปี และมาตรฐานการแสดงผลที่ใช้กับคอมพิวเตอร์มาจากการพัฒนาของบริษัทไอบีเอ็ม ระบบแสดงผลที่ใช้กับจอภาพมีสีเดียวที่เรียกว่า “โมโนโครม” หรือ MDA (Monochrome Display Adapter) ซึ่งจะแสดงผลที่เป็นตัวอักษรเพียงอย่างเดียวแต่ให้ความละเอียดสูง แต่คาดกันว่าในอนาคตผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะเลิกใช้จอภาพแบบ CRT ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ ประหยัดพื้นที่ และที่สำคัญคือสุขภาพสายตา เทคโนโลยีหลอดภาพที่นำมาใช้เป็นมอนิเตอร์สำหรับคอมพิวเตอร์มีการพัฒนา ตั้งแต่ CGA, EGA, VGA, XGA และในปัจจุบันกลายเป็น UXGA
    CD (Liquid Crystal Display)
    ถูกคิดค้นในปี ค.ศ. 1963 จอ LCD เริ่มจากการพัฒนานำมาใช้กับนาฬิกาและเครื่องคิดเลข เป็นจอภาพที่เริ่มเข้าสู่ยุคดิจิตอล จอภาพที่มีความแบนทำให้สามารถแสดงตัวอักษรและภาพได้โดยไม่เกิดการกระพริบ (flicker) การทำงานของจอภาพ LCD นั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวดมาทำการเปลี่ยนและบังคับให้ ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการ ทำให้แสงสว่างที่ได้จะไม่สั่นไหวเหมือนจอภาพแบบที่ใช้หลอดภาพ ซึ่งประโยชน์ก็คือสามารถลดความเมื่อยล้าในการมองได้ ซึ่งเดิมทีจอ LCD นิยมใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบแล็ปท๊อปหรือโน้ตบุ๊ค แต่ในปัจจุบันเริ่มมีปริมาณผู้ใช้จอภาพ LCD กับเครื่องเดสก์ทอปกันมากขึ้น และรวมไปถึง PDA และอาจกล่าวได้ว่าจอภาพ LCD กำลังก้าวมามีบทบาทแทนที่จอภาพแบบ CRT ซึ่งข้อดีของจอ LCD คือมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และกินไฟไม่มาก ให้ความละเอียดได้มากกว่าจอ CTR แต่ข้อเสียคือมีราคาแพงกว่าจอ CTR ส่วนในแง่ของการแสดงผล จอภาพ LCD ขนาด 15 นิ้ว สามารถให้พื้นที่การมองได้เกือบจะเท่ากับจอภพา CRT ขนาด 17 นิ้ว
    54185 54186

    จอภาพ LCD แบ่งเป็นสองเภท คือ
    • Dual-Scan Twisted Nematic (DSTN) เป็นจอภาพแบบ Passive Matrix จอภาพที่มีสีค่อนข้างแห้ง เนื่องจากมีความสว่างน้อย และสีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้ นอกจากมองจากมุมตรง และมีการตอบสนองที่ช้ามาก ดั้งนั้นจึงมีปัญหาเวลาที่เราดูภาพยนตร์หรือเคลื่อนเมาส์เร็วๆ ทำให้เรามองภาพเป็นภาพเบลอๆ ไป ตามการเปลี่ยนภาพไม่ทัน
    • Thin Flim Transistor (TFT) เป็นจอ LCD ที่ถูกพัฒนาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของจอ LCD แบบ DSTN โดยจอแบบ TFT นีเป็นแบบ Active Matrix ซึ่งได้ทำการเพิ่มเอาทรานซิสเตอร์เข้าไปเชื่อมต่อเข้ากับจอ LCD โดยทรานซิสเตอร์แต่ละตัวจะแทนแม่สี ผลที่ได้ก็ทำให้มีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของภาพที่เร็วขึ้น มีความคมชัดมากขึ้น จอภาพมีสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม เนื่องจากให้ความสว่างและสีสันในอัตราที่สูง และจอภาพ TFT สามารถทำให้บางกว่าจอภาพแบบ LCD ปกติได้ จึงทำให้มีน้ำหนักเบากว่า
    54187 54188
           OLED (Organic Light Emitting Diodes)
    เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังจะเข้ามาเพื่อทดแทนเทคโนโลยี LCD ค้นพบโดยบังเอิญของนักวิจัยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ โดยพบว่าสารกึ่งตัวนำบางชนิดสามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นแสงได้ ซึ่งเรียกว่า “อิเล็กโทรลูมิเนสเซนซ์” (Electroluminescence) ซึ่งเป็นสารโพลิเมอร์ที่ให้สีต่างๆ เมื่อนำมาประกอบกันและให้พลังงานในจุดที่ต้องการก็จะเปล่งแสงประกอบกันเป็น ภาพและสีตามต้องการเหมือนจอภาพ LED (Light Emitting Diodeds) OLED เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานโดยอาศัยคุณสมบัติทางนาโน คือ วัสดุอินทรีย์เปล่งแสง เพราะเป็นสารอินทรีย์นี้เราจึงสามารถประกอบอุปกรณ์ OLED บนวัสดุที่พับงอได้ จึงเกิดเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า จอภาพแบบยืดหยุ่น (Flexible Display) ซึ่งมีข้อดีคือกินพลังงานน้อยกว่า จอภาพบาง แบน เบา ให้สีคมชัด และยืดหยุ่นได้ จากข้อดีดังกล่าวทำให้นักวิจัยเร่งวิจัยและพัฒนาคือ จอภาพที่ไม่กินพื้นที่ สามารถบิดงอได้โดยไม่ทำให้จอเสียหรือภาพล้ม ซึ่งเทคโนโลยีแบบเดิมไม่สามารถสนองความต้องการนี้ได้
    ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี OLED มาใช้กับจอภาพคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คทำให้มีภาพเคลื่อนไหวที่ชัดเจน การแสดงผลของจอภาพ OLED แสดงผลได้เร็วกว่าจอภาพ LCD จากคุณสมบัตินี้ทำให้จอภาพ OLED จะถูกนำไปใช้กับโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่เรียกว่า 3G คือเป็นโทรศัพท์ในยุคที่สาม เพราะโทรศัพท์ประเภทนี้จำเป็นต้องแสดงภาพวิดีโอของคู่สนทนาด้วย เพราะไม่เพียงแต่จะออกแบบให้สื่อสารกับหูเท่านั้น ยังสนองความต้องการทางตาได้ด้วย ทำให้จอภาพ OLED เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
    54191

    Plasma
    จอภาพ Plasma คือ วิวัฒนาการแห่งเทคโนโลยี visual image สำหรับแสดงข้อมูลดิจิตอล ด้วยเทคโนโลยี ALIS จอภาพ Plasma ใช้หลอดขนาดเล็กบรรจุก๊าซซีนอน เลียนแบบหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ เมื่อมีการปล่อยกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหลอดใด ก๊าซก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นพลาสมา แล้วปล่อยพลังงานออกมาในรูปของรังสีอุลตร้าไวโอเลต ซึ่งจะไปกระตุ้นสารฟอสเฟอร์ไวแสงสีต่างๆ สามสีบนผิวจอให้สว่างขึ้นมา สามารถตอบสนองต่อสัญญาณภาพได้รวดเร็ว ทำให้ภาพคมชัด มีความละเอียด และความสว่างสูง มีสีสันที่ใกล้เคียงกับสีตามธรรมชาติเป็นอย่างมาก และมีมุมมองที่คมชัดมากกว่าจอภาพแบบ LCD สามารถมองภาพได้ชัดเจนในมุมกว้างเกือบ 180 องศา เนื่องจากเทคโนโลยีของจอภาพแบบ Plasma มีความแตกต่างจากจอภาพแบบ LCD ทำให้ราคาแพงกว่าจอภาพแบบ LCD ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาที่จะเป็นที่ยอมรับในการเลือกซื้อมาใช้งานในปัจจุบัน
    5419254193
           Touch Screen
    เป็นอีกหนึ่งจอภาพที่อยากพูดถึง เป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นที่ทำให้ผู้ใช้สามารถสัมผัสจอแล้วได้รับการตอบสนอง จากคอมพิวเตอร์ เปรียบเสมือนมีเม้าส์และคีย์บอร์ดที่จอภาพ ซึ่งจะต้องประกอบด้วยส่วนสำคัญหลักๆ 2 ส่วน คือ
    1. แผ่นหน้าจอสัมผัส ที่มีขนาดและความโค้งพอดีกับหน้าจอ ตัวควบคุม Touch Screen มีทั้งอยู่บริเวณหลังหน้าจอ หรือแบบอยู่ในตัวเครื่อง แล้วส่งข้อมูลจาการสัมพผัสเข้ามาในตัวคอมพิวเตอร์
    2. Software จะเป็นตัวประมวลผลข้อมูลที่ได้จากหน้าจอสัมผัส ส่วน driver จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นข้อมูลสำหรับเม้าส์ และนำส่งข้อมูลที่เปลี่ยนแล้วไปเป็นโค้ดสำหรับบังคับเม้าส์ ซึ่งเป็นหน่วยที่บรรจุอยู่ใน host server software ตัวบังคับเม้าส์นี้จะทำงานอยู่ใน host เราจะไม่สามารถทราบว่า ข้อมูลที่ได้รับเป็นโค้ดสำหรับเม้าส์นี้มาจากตัวเม้าส์เอง หรือมาจากหน้าจอที่ควบคุมโดยการสัมผัส ซึ่งทั้งสองวิธีเราสามารถใช้ได้พร้อมๆ กัน
    ประโยชน์ของ Touch Screen นั้นทำให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างคล่อง แคล่วขึ้น สามารถเข้าสู่การทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่ายและรวดเร็วเพียงปลายนิ้วสัมผัส อีกทั้งหน้าจอของ Touch Screen เป็นระบบ Analog Resistive ทำให้สามารถอยู่ในพื้นที่ที่มีฝุ่นก็สามารทำงานได้ปกติ และยังสามารถโดนน้ำก็ยังทำงานได้
    54194 54195


    มาดูข้อดีข้อเสียของจอภาพแต่ละชนิดกัน เลือกให้ตรงกับความต้องการ เพื่อจะได้ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    54197

http://wownamsiri040.blogspot.com




                                                             บทที่  2    
                                            องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์  


ตอนที่1  จงตอบคำถามต่อไปนี้

1.  ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญกี่ส่วน  อะไรบ้าง
ตอบ  3  ส่วน  
            1.  ฮาร์ดแวร์
             2.  ซอฟต์แวร์
             3.  บุคลากร

2.  หน่วยรับโปรแกรมและข้อมูลแบ่งออกเป็น  3  ประเภท  อะไรบ้าง
ตอบ  1.  อุปกรณ์แบบธรรมดา
          2.  อุปกรณ์แบบพิเศษ
          3.  อุปกรณ์รับข้อมูลโดยตรง

3.  หน่วความจำขนาด  4    GB   มีความจุกี่ไบต์
ตอบ  4,  294,  967,  256  bytes.


4.RAM  คืออะไร
ตอบ  หน่วยความจำชั่วคราวเป็นหน่วยจัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลระหว่างทำการประมวลผล  ในขณะที่เครื่องทำงานอยู่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอด


5.ROM  ต่างจาก  RAM  อย่างไร  มีกี่ชนิด  ชนิดใดนำไปใช้กับระบบ  POS
ตอบ  ROM    หนาวยความจำชนิดอ่านได้อย่างเดียวเท่านั้น  มี  3  ชนิด  คือ
1.  PROM     2.  EPROM   3.EEPROM
 ใช้สำหรับการบันทึกรายการและหน่วยความจำ  เป็นหน่วยความจำคำสั่ง
          RAM   หน่วยความจำชั่วคราวเป็นหน่วยจัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลในระหว่างทำการประมวล
 มี  2  ชนิดคือ   1.  DRAM   2.  SRAM



ตอนที่  3  จงตอบคำถามต่อไปนี้พอสังเขป
1.  ซอฟต์แวร์คืออะไร  แบ่งออกเป็นกี่ประเภท  อะไรบ้าง  จงอธิบาย
ตอบ.  คือ  โปรแกรมหรือชุดคำสั่งในการควบคุมหรือสั่งให้ซอฟต์แวร์ปฎิบัติงานด้ายตามวัตถุประสงค์  การนำข้อมูล  การประมวลผล  การจัดเก็็บข้อมูล และการควบคุมการปฎิบัติการในรูปแบบของคำสั่ง
ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น  2  ประเภท  คือ
             1.  ซอฟต์แวร์ระบบ  หมายถึง  โปรแกรมจัดการและสนับสนุนทรัพยากรและการปฎิบัติงานของคอมพิวเตอร์
            2.   ซอฟต์แวร์ประยุกต์  หมายถึง  โปรแกรมสำหรับใช้งานเฉพาะอย่างตามความถูกต้องของผู้ใช้


2.  โปรแกรมประเภทฟรีแวร์  (Freeware)  แชร์แวร์( Shareware   )  เฟิร์มแวร์(Firmware   )  เป็นอย่างไร  
ตอบ.  โปรแกรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานได้หลายงาน โดยไม่ต้องเรียนโปรแกรมขึ้นมาใหม่  เพียงเรียนรู้การใช้งานเท่านั้นจะช่วยให้การทำงานได้หลายงาน






วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

http://wownamsiri040.blogspot.com

ซีพียู (CPU) Intel
CPU ทำหน้าที่อะไร
CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้
สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็น Clock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที
การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น
 ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอินเทล เช่น Pentium I, Pentium II, Pentium III ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป
คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
• หน่วยความจำภายนอก
• สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) (แอนนา 2540: 9)
• บัส
• หน่วยความจำแคช
• Passing Math Operation

รวมประวัติCPUในอดีตAMD
K5
หลังจากที่ทาง Intel นั้นได้เปลี่ยนรูปแบบของชื่อ มาใช้แบบที่ไม่เป็นตัวเลข ทาง AMD ก็เอาบ้างสิ โดยเจ้า K5 นี้ ทาง AMD ก็กะจะเอามาชนกันตรงๆ กับ Intel Pentium เลยทีเดียว ซึ่งจะใช้งานบน Socket 5 เหมือนๆ กับ Pentium ด้วย และเพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสนในเรื่องรุ่นของความเร็ว ก็เลยมีการนำเอา PR-Rating มาใช้
ในการเปรียบเทียบ ระดับความเร็ว เมื่อเทียบกับทาง Intel ซึ่งรุ่นนี้ก็มีตั้งแต่รุ่น 75 ถึง 166 MHz ใช้ความเร็วบัสของระบบที่ 50-66 MHz K5 นี้ ก็จะมีอยู่ด้วยกันถึง 4 Version ครับ แตกต่างกันไปนิดๆ หน่อย โดย Version แรกนั้น จะใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.6 ไมครอน ก็คือ K5-75, 90,100 .. Version ที่ 2 นั้น จะใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน ได้แก่ K5-100 .. ส่วน Version ถัดมานั้นได้มีการปรับปรุง Core ใหม่อีกเล็กน้อย คือรุ่นK5-PR120 และ PR133 ส่วน Version สุดท้าย ก็คือ K5-PR166 ซึ่งใช้ตัวคูณที่แปลก แหวกแนวจากชาวบ้านเขา คือ คูณด้วย 1.75 ใช้งานบน FSB 66 MHz
K6
เป็น CPU ในรุ่นที่ 6 ของทาง AMD ซึ่งชิงเกิดก่อน Pentium II ของทาง Intel เพียงเดือนเดียว คือเริ่มวางจำหนายในเดือนเมษายน ปีค.ศ. 1997 ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน เริ่มต้นด้วยความเร็ว 166 MHz จนถึง 233 MHz ซึ่งรุ่นหลังนี้ ก็ได้ลดขนาดการผลิตเหลือเพียง 0.25 ไมครอนด้วย K6 นี้ ใช้โครงสร้างสถาปัตยกรรมของ Nx686 ของทาง NexGen ซึ่งทาง AMD ซื้อบริษัทนี้เข้าไว้ตั้งแต่ก่อนออก K5 เสียอีก มีขนาดของ Cache ระดับ 1 ที่มากกว่า Intel Pentium MMX เป็นเท่าตัว คือมีถึง 64K ( Instruction Cache 32K และ Data Cache อีก 32K ) นอกจากนี้ยังได้รวมเอาชุดคำสั่ง MMX ของทาง AMD เอง เข้าไว้ด้วย ส่วนสถาปัตยกรรมโครงสร้างภายในนั้น ก็จะเป็นในรูปแบบของ RISC CPU ( Reduced Instruction Set Computer ) ใช้งานบน Socket 7 .. นอกเหนือไปจากนั้น ก็มี CPU ในสายนี้ แต่เป็น CPU สำหรับ Mobile PC นั้นคือ K6 Model 7 ที่มีระดับความเร็ว 266 และ 300 MHz ใช้ FSB 66 MHz ด้วยเทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.25 ไมครอน
K6-2
เป็น CPU ตัวใหม่ที่อยู่ในสายพันธุ์ที่ 6 เช่นเดิม เปิดตัวในราวๆ พฤษภาคม ค.ศ. 1998 ซึ่งโดยสถาปัตยกรรมหลักๆ แล้ว ก็จะยังคงคล้ายๆ กับทาง K6 เดิม เพียงแต่ได้มีการเพิ่มชุดคำสั่งที่ช่วยในการประมวลผล ด้าน Graphic 3 มิติ ที่เรียกว่า 3DNow! เข้าไว้ด้วย โดย CPU รุ่นนี้ ยังคงใช้ Cache ระดับ 2 ที่อยู่บน Mainboard เช่นเคย ทำงานที่ความเร็วเท่าๆ กับ FSB และมีขนาดตั้งแต่ 512K จนถึง 2MB มีความเร็วเริ่มต้นที่ 266 MHz ใช้ FSB 66 MHz ส่วนรุ่นความเร็วถัดมา 300 MHz นั้น จะใช้ FSB เป็น 100 MHz CPU K6-2 นี้ มีอยู่ด้วยกัน 2 Version คือ Version แรก ที่ความเร็ว 266 (66x4), 300 (100x3), 333 (95x3.5), 350 (100x3.5) และ 366 (66x5.5) MHz ซึ่งเป็น Original Version เลย ส่วน Version ถัดมานั้น ทาง AMD ได้ทำการปรับปรุงสถาปัตยกรรมแกนหลักของ CPU ใหม่ โดยเฉพาะตรงส่วนของการจัดการกับ Cache เรียกว่า CXT Core ซึ่งก็ใช้ใน K6-2 รุ่นความเร็วตั้งแต่ 380 MHz เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ถึงระดับความเร็ว 550 MHz แล้ว
Sharptooth (K6-III)
ก็เป็นรุ่นที่มีการพัฒนาต่อจาก K6-2 อีกทีหนึ่ง โดยมาคราวนี้ ทาง AMD ได้จัดการเอา Cache ระดับ 2 รวมเข้าไว้ในตัว CPU เลย ด้วยขนาด 256 K ที่ทำงานด้วยความเร็วเดียวกันกับ CPU และยังคงใช้ได้กับ Interface แบบ Socket 7 เดิม เพราะฉะนั้นจึงมอง Cache ที่อยู่บน Mainboard เป็น Cache ระดับ 3 ( ซึ่ง K6-2 นั้นมองว่าเป็น Cache ระดับ 2 ) ไปโดยปริยาย ... ออกสู่ท้องตลาดเมื่อกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1999 มีออกมาจำหน่ายเพียง 2 รุ่น คือ 400 และ 450 MHz ... และปัจจุบัน ได้ยกเลิกสายการผลิต CPU Sharptooth นี้แล้ว
K6-2+
จะเป็น CPU ที่ใช้งานบน Socket 7 ตัวสุดท้ายของทาง AMD โดยจะเป็น CPU ที่มีคุณลักษณะต่างๆ คล้ายๆ กับเจ้า Sharptooth ที่ยกเลิกสายการผลิตไป เพียงแต่ว่า มีขนาดของ Cache ระดับ 2 เหลือเพียง 128K เท่านั้น และ CPU รุ่นนี้ จะเป็น CPU ที่ใช้ Socket 7 ตัวแรกด้วยที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน เริ่มต้นด้วยความเร็ว 533 MHz คาดว่าจะเปิดตัวในราวๆ ไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2000 นี้ ... สำหรับ CPU รุ่นนี้ บางแหล่งข่าวก็บอกว่าจะมีเฉพาะรุ่นทีใช้กับ Mobile PC เท่านั้น แต่บางแหล่ง ก็บอกว่ามีทั้ง 2 แบบเลย คือรุ่นที่ใช้กับ Mobile PC และรุ่นที่ใช้กับ Desktop PC ...
K6-III+
เป็นรุ่นที่พัฒนามาแทนที่ K6-III เดิม เพราะรายละเอียดแทบทุกอย่างจะเหมือนเดิมทั้งสิ้น เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน ส่วนที่เหลือ ก็คือี Cache ระดับ 2 มีขนาดเป็น 2 เท่าของ K6-2+ คือ 256K และที่สำคัญจะมีเฉพาะรุ่นที่เป็น Mobile PC เท่านั้น สำหรับ K6-2+ และ K6-III+ สำหรับ Mobile PC นั้น จะมีคุณสมบัติใหม่ที่เรียกว่า PowerNow! หรือเดิมชื่อ Gemini ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการประหยัดพลังงาน คล้ายๆ กับเทคโนโลยี SpeedStep ของทาง Intel ด้วยครับ
K7 / Athlon
เป็น CPU ตัวแรกของทาง AMD ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้สถาปัตยกรรมของตัวเองทั้งสิ้น เพื่อแย้งข้อครหาที่ว่าพัฒนา CPU ตามหลัง Intel มาตลอด โดยเจ้า Athlon นี้ เป็น CPU ที่มีขนาดของ Cache ระดับ 1 ที่มากที่สุดในท้องตลาดปัจจุบันนี้ นั่นก็คือ 128 K ( Instruction 64K และ Data 64K ) มี Cache ระดับ 2 อยู่ใน Package เดียวกันกับ CPU ทำงานด้วยความเร็วเป็นครึ่งหนึ่ง และ 2/5 ของความเร็วของ CPU ... มีการนำเอาระบบบัสที่ใช้กับ Processor Alpha มาใช้ กับ Athlon ด้วย คือ EV6 Bus ซึ่งโดยทฤษฎีแล้ว ก็สามารถสร้าง Mainboard ให้รองรับ Processor ทั้ง 2 แบบนี้ได้เลยละครับ คือทั้ง Alpha และ Athlon ใช้งานบนบัสของระบบที่ 100 MHz แต่ด้วยคุณสมบัติของ EV6 Bus ก็จะทำให้ระบบบัสภายในของ CPU นั้นเป็นเท่าตัวของบัสของระบบ คือเป็น 200 MHz และคาดว่าต่อไปน่าจะทำได้สูงถึง 400 MHz หรือมากกว่านี้อีกด้วย
Athlon นี้จะมาพร้อมๆ กับชุดคำสั่ง MMX และ 3DNow! รุ่นพัฒนา ( เรียกว่า Enhance 3DNow! ) ใช้งานบน Interface ใหม่ของทาง AMD เอง เรียกว่า Slot-A มีความเร็วเริ่มต้นที่ 500 MHz
Argon
เป็นชื่อ Codename ของสถาปัตยกรรมแกนหลักของ Athlon
Thunderbird (Athlon)
หรือ เดิมมีชื่อเรียกว่า "Professional Athlon" ก็จะเป็น CPU ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน โดยจะมี Cache ระดับ 2 แบบ On-Chip ทำงานด้วยความเร็วเดียวกันกับ CPU ที่ขนาด 512K และเจ้า Thunderbird นี้ จะเป็น CPU ตัวสุดท้ายที่ใช้งานบน Slot-A โดยรุ่นแรกๆ นั้นจะยังคงใช้งานบน Slot-A แต่รุ่นต่อๆ มาจะหันไปใช้งานบน Socket A ซึ่งเป็น Interface ใหม่ของทาง AMD .. เปิดตัวรุ่นตัวอย่างเป็นครั้งแรกที่งาน ISSCC'2000 ( International Solid-State Circuits Conference ) ที่จัดขึ้นในราวต้นเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2000 นี้เอง ด้วยความเร็วที่นำมาแสดง คือ 1.1 GHz และคาดว่าจะเริ่มการจำหน่ายจริงๆ ในราวไตรมาสที่ 2 ของปี ค.ศ. 2000 นี้ ... จากข้อมูลล่าสุด พบว่าในรุ่นแรกที่วางตลาดนั้น จะมี Cache ระดับ 2 เพียง 256K และมี Cache ระดับ 1 ที่ขนาด 128K ... Thunderbird นี้ จะมีทั้งรุ่นที่ใช้งานกับ Slot-A และกับ Socket A ครับ
Palomino (Athlon)
Athlon รุ่นใหม่ ( Socket A ) ที่ยังคงใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.18 ไมครอน ใช้ทองแดงเป็นตัวเชื่อมต่อภายใน ( Copper Interconnect ) แต่จะมีความเร็วเริ่มต้นที่ 1.4 GHz เลยทีเดียว และหันมาใช้ FSB เป็น 266 MHz ( DDR ) นอกจากนี้ ก็ยังได้พัฒนา และ ปรับปรุงขึ้น จาก Thunderbird อีกมากมาย ทั้งเรื่องของ Branch Prediction หรือเรื่องของความร้อนในขณะทำงาน ที่ลดน้อยลงกว่าเดิม หรือเรื่องของ Hardware Prefetch นอกจากนี้ก็ยังได้ทำการ Optimize ในส่วนของแกนหลัก ทั้งพัฒนาในส่วนของ FPU ( หน่วยประมวลผลเชิงทศนิยม ) และ ALU ( หน่วยประมวลผลเชิงตรรก ) อีกด้วย.. คาดว่าจะเริ่มต้นสุ่มตัวอย่างผลิต ในต้นปีค.ศ. 2002 และเริ่มจำหน่ายจริง ในไตรมาสถัดไป แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจมากๆ ก็คงไม่พ้นข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับทาง AMD ซึ่งได้ให้ข้อมูลว่า เจ้า Palomino นี้ จะเป็น CPU ของ AMD ตัวแรก ที่เอาชุดคำสั่งของ Intel SSE หรือ Streaming SIMD Extension ( Katmai ) มาใช้ โดยที่เราๆ ท่านๆ ก็ได้ทราบกันดีอยู่แล้วนะครับ ว่าชุดคำสั่งดังกล่าว เป็นชุดคำสั่งที่ทาง Intel ได้จดลิขสิทธิ์เอาไว้แล้ว ถ้า AMD จะมาใช้ก็ต้องเสียค่าหัวคิวให้กับทาง Intel ... แล้ว AMD นั้น เป็นคู่แข่งกับ Intel ... อย่างนี้ ก็ยิ่งน่าสนใจนะครับ
Thoroughbred (Athlon)
Athlon ในรุ่นถัดจาก Palomino ( Socket A ) ที่ลดขนาดของเทคโนโลยีการผลิตเหลือเพียง 0.13 ไมครอน ใช้ทองแดงเป็นตัวเชื่อมต่อภายในเช่นเดิม ( Copper Interconnect ) และมีความเร็วเริ่มต้นกันที่ 1.73 GHz เริ่มต้นสุ่มตัวอย่างผลิตในราวไตรมาสสุดท้ายของปี ค.ศ. 2001 และ ผลิตเป็น Production จริงๆ ในไตรมาสแรก ในปี ค.ศ. 2002
Barton (Athlon)
Barton นี้ เป็น Athlon ในรุ่นถัดจาก Thoroughbred จะใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 0.13 ไมครอน พร้อมด้วยเทคโนโลยีใหม่ SOI ( Silicon On Inulator ) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็วของ CPU ขึ้นมาอีก 20% แล้วยังจะช่วยลดความร้อนลงได้อีก
Spitfire (Duron)
เป็น Athlon รุ่น Socket เพราะใช้งานบน Socket A ( Socket-462 ) เท่านั้น แต่เป็นรุ่นราคาต่ำ เพราะมีขนาดของ Cache ระดับ 2 ที่น้อยกว่า Thunderbird เหลือประมาณครึ่งหนึ่ง ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน เช่นเคย คาดว่าจะมีจำหน่ายในราว ปลายๆมาสแรก หรือต้นๆ ไตรมาสที่ 2 ของปี ค.ศ. 2000 นี้เช่นกัน ทั้ง Spitfire และ Thunderbird ในรุ่นแรกนี้ ยังคงผลิตด้วย Aluminium และยังคงใช้ Aluminium สำหรับทำหน้าที่เป็นตัว Interconnect ด้วย แต่ Thunderbird รุ่นใหม่ที่จะหันไปใช้งานบน Socket A นั้น จะใช้ Copper ( ทองแดง ) เป็นตัวต่อเชื่อมภายในที่เรียกว่า Copper-Interconnect แล้วละครับ
Duron
ก็คือ Spitfire นั่นเองละครับ เพียงแต่ ทาง AMD นั้น พอถึงเวลาเปิดตัวอย่างเป็นทางการจริงๆ ก็กลับใช้ชื่อนี้ เป็นชื่อทางการค้าอย่างเป็นทางการแทนนั่นเอง
Morgan (Duron)
Duron ใน Generation ที่ 2 ( Socket A )... มีความเร็วเริ่มต้นที่ 900 MHz ยังคงใช้ เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.18 ไมครอน ยังคงมี Cache ระดับ 1 ขนาด 128KB และ Cache ระดับ 2 ขนาด 64 KB แต่อาจปรับไปใช้ FSB 266 MHz ( DDR ) แทน คือ ใช้สถาปัตยกรรมแกนหลักเดียวกันกับ Palomino นั่นเอง แต่จุดต่างกันอีกจุดหนึ่ง ก็คือยังคงใช้อลูมิเนี่ยมเป็นตัวเชื่อมต่อภายใน ( Aluminum Interconnect ) เช่นเดิม เริ่มสุ่มตัวอย่างผลิตในไตรมาสแรกของปีค.ศ. 2002 และเริ่มส่งจำหน่ายจริงในไตรมาสถัดไป
Appoloosa (Duron)
Duron ใน Generation ที่ 3 ( Socket A ) ... มีความเร็วเริ่มต้นที่ 1 GHz และหันมาใช้เทคโนโลยีการผลิตลดลงด้วยขนาด 0.13 ไมครอน และใช้สถาปัตยกรรมแกนหลักเดียวกับ Athlon Throughbred ต่างกันแค่ขนาดของ Cache ระดับ 2 เท่านั้นละครับ คาดว่าจะเริ่มสุ่มตัวอย่างผลิตหลังจาก Morgan ไม่นาน ( น่าจะเป็นไตรมาสที่ 2 ของปีค.ศ. 2002 ) และ เริ่มจำหน่าย ในไตรมาสถัดไป
Mustang
หรือ "Athlon Ultra" จะเป็น Athlon ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานระดับ Server/Workstation ใช้ Copper ในการผลิต ด้วยเทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน มีขนาดของ Cache On-Chip ระดับ 2 ตั้งแต่ 1-2 MB เลยทีเดียว ใช้งานบนระบบ Bus แบบ DDR FSB 133 MHz ( ก็จะเหมือนว่าทำงานด้วย Bus 266 MHz ละครับ ) และรองรับหน่วยความจำแบบ DDR SDRAM 400 MHz ที่ใช้ช่องความกว้างของ Bandwidth ถึง 2.1 GB เลยทีเดียว .. และเหมือนๆ กับ Thunderbird คือ รุ่นแรกจะใช้งานบน Slot-A และรุ่นต่อมาจะย้ายมาใช้ Socket A แทน เดิมทีคาดว่าจะออกสู่ท้องตลาดได้ในไตรมาสที่ 3 ของปี ค.ศ. 2000 ... แต่ปัจจุบัน ได้ถูกทาง AMD เขี่ยออกจาก Roadmap ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วละครับ
SledgeHammer
หรือ K8 ... CPU 64 Bit ในสาย x86 ตัวแรกของทาง AMD ที่เรียกว่า x86-64 ... เป็น CPU ที่เน้นสำหรับใช้งานด้าน Server / Workstation ใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.13 ไมครอน รองรับการใช้งานแบบ 4-8 way Multi Processor... นอกจากนี้ ก็ยังมีการใช้งานระบบบัสแบบใหม่ ที่เรียกว่า Lighting Data Transport หรือ LDT ซึ่งจะมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของ EV6 และ/หรือ EV7 Bus ผนวกกับ เทคโนโลยี SOI หรือ Silicon On Inulator ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็วของ CPU ขึ้นมาอีก 20% แล้วยังจะช่วยลดความร้อนลงได้อีกไม่น้อย คาดว่าจะเริ่มต้นสุ่มตัวอย่างทดสอบในไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2002 และเริ่มผลิตเป็น Production ในไตรมาสถัดไป
ClawHammer
CPU 64 Bit ( x86-64 ) ในตระกูลเดียวกันกับ SledgeHammer หากแต่เป็นรุ่นเล็กกว่า เนื่องจากลดขนาดของ Cache ภายใน และลดปริมาณการรองรับการใช้งานแบบ Multi Processor เหลือเพียงแค่ 1 หรือ 2 ทาง เท่านั้น (1-2 way) แต่รายละเอียดอย่างอื่น ก็จะเหมือนๆ กับ SledgeHammer ... ตัวนี้ ทาง AMD หมายจะเน้นมาใช้งานในตลาด Desktop PC ละครับ ... จะเริ่มสุ่มตัวอย่างทดสอบในราวไตรมาสสุดท้ายของปี ค.ศ. 2001 และ จะเริ่มผลิตเป็น Production ในราวต้นปี หรือในไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2001
นอกจากนี้ ยังมีข่าวอีกว่า ทาง AMD วางแผนจะใช้ชุดคำสั่ง SSE2 ที่เพิ่มเข้ามาใน Pentium4 อีก 144 คำสั่ง มาใช้อีกด้วย แต่ว่า จะใช้กับ CPU ในตระกูล Hammer ทั้งหลาย ได้แก่ ClawHammer และ SledgeHammer อีกด้วยละครับ
จากหัวใจ Thai-AMDclub.com



ความแตกต่างของ Intel และ Amd
AMD ต่างจาก Intel ตรงราคา ของ AMD จะเน้นทำราคาต่ำกว่าของ Intel แต่ถ้าวัดกันด้วยเทคโนโลยีของโน้ตบุ๊ก Intel นำหน้า AMD ไปไกลหลายช่วงตัวแล้วครับ ที่สำคัญ Intel ก็เป็นผู้ผลิต CPU รายแรกที่ทำตลาดในเรื่องของ Mobile CPU มานานหลายปีแล้วด้วย AMD เพิ่งลงมาทำตลาดไม่นานนี้เอง ที่สำคัญ Intel มีแพลตฟอร์ม Intel Centrino อันเป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับ Mobile CPU , Mobile Chipset และ Intel PRO/Wireless network Adapter ที่ถือเป็นจุดแข็งของอินเทลมาตั้งแต่แรกและคนทั่วโลกเองก็ให้การยอมรับในเรื่องนี้ด้วย รวมทั้งเรื่องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่น้อยและความคุ้มค่าสูง

ยิ่งในปัจจุบันนี้ Intel ได้ออกเทคโนโลยีอย่าง Santa Rosa platform มาเมื่อปีค.ศ. 2007 ก็ทำให้จุดแข็งของ Intel แข็งแกร่งยิ่งขึ้นครับ และในปีค.ศ. 2008 นี้ก็จะมีการเปิดตัวเทคโนโลยี Montevina platform ซึ่งรองรับ CPU ที่ใช้เทคโนโลยีขนาด 45 nm และปรับ FSB จากเดิม 800 MHz ขึ้นเป็น 1066 MHz ด้วย


Posted Image Posted Image
ส่วนเรื่องซื้อโน้ตบุ๊กมาเล่นเกม ถ้าเล่นเกม Online อย่างเดียวใช้การ์ดจอ On Board ก็พอครับ แต่ถ้าเอาไปเล่นเกม Offline เครื่องสเปก 25,000 บาทเล่นแทบไม่ได้แน่ๆครับ เพราะเครื่องราคาประมาณนี้การ์ดจอจะเป็น On Board เสียส่วนใหญ่ หรือถ้าเป็นการ์ดจอแยก (GPU Module) ก็เป็นรุ่นล่างสุดในการ์ดจอ Series นั้นๆ และใช้แรมร่วมกับเครื่อง ไม่ได้มีแรมแยกเฉพาะออกมาเป็นของตัวเองเหมือนการ์ดจอรุ่นกลางไปถึงสูง

ส่วนที่ถามว่า Intel Core 2 Duo เทียบได้กับ CPU รุ่นไหนของ AMD ถ้าเป็นเครื่อง Desktop PC จะเทียบเท่าและเหนือกว่า AMD Athlon 64 X2 แต่ถ้าเป็น Laptop PC จะเทียบเท่าและเหนือกว่า AMD Turion 64 X2


 
Posted Image
การ์ดจอโน้ตบุ๊ก nVIDIA GeForce 8800M GTX 512 MB DDR3
ซีพียู คืออะไร ?ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะ
CPU
เป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น
กลไกการทำงานของซีพียู
 ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู
• รีจิสเตอร์